วันเสาร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ประวัติหาดใหญ่

บ้านโคกเสม็ดชุนเมื่อปี 2428 ปรากฏหลักฐานว่ามีชาวบ้านตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขเชิงสะพานลอยเป็นบ้านของ นายปลอดปลูกอยู่ในอาณาเขตของบ้านโคกเสม็ดชุนและยังมีบ้านอีกหลายหลังตั้งอยู่ห่าง ๆ กันไปจนถึงบริเวณที่ทำการสถานีตำรวจรถไฟ
บริเวณบ้านโคกเสม็ดชุนมีต้นไม้ขึ้นอยู่หลายชนิด เช่น ต้นมะม่วง ต้นมะไฟ ต้นตาล ฯลฯ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของชาวบ้านที่มักจะปลูกผลไม้พื้นบ้านควบคู่ไปกับการตั้งบ้านเรือนเสมอ สภาพพื้นที่โดยรอบ บ้านโคกเสม็ดชุนในสมัยนั้นเป็นหนองเป็นบึง มีป่ารกร้างโดยรอบบ้านเรือนของผู้คน
แต่ก็ยังมีชาวบ้านจากบ้านอื่น ๆ เช่น บ้านกลาง ได้ขยับขยายย้ายถิ่นฐานไปบุกเบิกป่ารกร้างแห่งหนึ่ง (ปัจจุบัน คือ บริเวณที่ตั้งของวัดโคกสมานกุล) ซึ่งในสมัยนั้นเรียกว่า บ้านปลักขี้ใส่โพลงผู้บุกเบิกป่าในช่วงนั้นมีอยู่สองครอบครัว คือ นายบัวแก้ว นางหนุนจีน จันทเดช และนายเพ็ชรแก้ว นางเขียว ไชยะวงศ์ ในสมัยรัชกาลที่ 5 กระทรวงคมนาคมได้ประกาศเวณคืนที่ดินส่วนหนึ่ง (ที่ตั้งของบ้านพักรถไฟในปัจจุบัน) เพื่อตัดทางรถไฟผ่านไปปาดังเบซาร์ แหลมมาลายู และสิงคโปร์ ชาวบ้านครอบครัวหนึ่งคือ นายง่วง นางซีด้วง สะระ ได้รื้อย้ายหามเรือนไห ตั้งอยู่บริเวณที่ตั้งของโรงแรมวังน้อย (ใกล้สี่แยกถนนดวงจันทร์ - ถนนแสงจันทร์) ชาวบ้านในสมัยนั้นเรียกบริเวณแถบนี้ว่า บ้านโคกบก เป็นบ้านรกร้างมานานหลายสิบปี ผู้บุกเบิกป่าบ้านโคกบกมาก่อนคือ นายเพ็ชร แก้วไชยวงศ์ และนายสัก บุญมี
 
 
ในช่วงเวลาอันไล่เลี่ยกันนี้ชาวบ้านจากบ้านต่าง ๆ พากันบุกเบิกป่าอีก หลายแห่ง เช่น แถบบริเวณวัดมงคลเทพาราม หรือวัดปากน้ำ ถนนแสงศรี หรือในสมัยก่อนเรียกว่า ปลักโต้พุดทอง และ ปลักจันเหร็ง มีสภาพเป็นหนองเป็นป่าลึกมาก บรรพบุรุษรุ่นก่อนได้ช่วยกันบุกเบิกแหล่งรกร้างพัฒนาแหล่งทำกินไว้ให้ กับชนรุ่นหลังได้รับผลประโยชน์อย่างมหาศาล
คลองเตย เป็นคลองสายเก่าแก่ที่สุดของนครหาดใหญ่ เมื่อกว่า 80 ปีก่อน คลองเตยยังเป็นคลองน้ำลึกและกว้างมาก มีพันธุ์ไม้นานาชนิด ทั้งไม้ล้มลุกและไม้ยืนต้น มีสัตว์น้ำต่าง ๆ เช่น ปลา เต่า ตะพาบน้ำ หอยโข่ง และอื่น ๆ อาศัยอยู่มากมาย ส่วนริมฝั่งคลองเตยทั้ง 2 ฝั่ง
มีต้นไม้ใหญ่เรียงราย โดยเฉพาะต้นไผ่ป่าขึ้นเรียงเป็นแถวเป็นแนวเหมือนกำแพงทั้ง 2 ฝั่งคลอง คลองสายนี้มีต้นน้ำมาจากทางด้านตะวันออก ไหลเข้าสู่ทางด้านใต้ของสถานีรถไฟหาดใหญ่ ผ่านบริเวณทุ่งเสาไหลเรียบ ถนนสายต่างๆ ในตัวเมืองหาดใหญ่เป็นคลองที่มีความยาวและคดเคี้ยวไปมา ในปัจจุบันตื้นเขินและไม่สามารถสัญจรได ้ คลองอู่ตะเภา อยู่ทางทิศตะวันตกยาวประมาณ 15 กิโลเมตร มีปริมาณน้ำมากตลอดทั้งปี ใช้เป็นเส้นทางสัญจรได้ ในสมัยก่อนบริเวณแถบริมคลองอู่ตะเภามีลักษณะเป็นหาดทรายใหญ่ แต่ปัจจุบันไม่มีหาดทรายหลงเหลืออยู่เลย เพราะได้นำทรายไปใช้ประโยชน์จนหมดสิ้นแล้ว หาดทรายนี้เกิดจากการพัดพาธารน้ำเล็ก ๆ สามสายไหลมาบรรจบกัน ธารน้ำทั้งสามสายนี้ ยังเป็นแหล่งที่ชาวบ้านพากันมาล้างแร่ ด้วยเวลาผ่านไปทรายที่ถูกน้ำพัดพามาก็รวมกันเป็นหาดทรายกว้าง เรียกว่า หาดทราย และใช้เป็นแหล่งตลาดนัดสำหรับขายของในสมัยก่อน
 
การพัฒนาความเจริญของนครหาดใหญ่
หาดใหญ่ เป็นชื่อรวมของหมู่บ้านโคกเสม็ดชุน และบ้านหาดใหญ่       เดิมดินแดนหาดใหญ่เป็นเนินสูงมีผู้คนอาศัยอยู่ไม่มากนัก การคมนาคมไม่สะดวก เป็นป่าต้นเสม็ดชุน โดยทั่วไปชาวบ้านจึงเรียกว่า บ้านโคกเสม็ดชุน เมื่อทางการได้ตัดทางรถไฟมาถึงท้องถิ่นนี้ จึงมีประชาชนอพยพมาตั้งหลักแหล่งทำมาหากิน และเพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ

สมัยนั้นสถานีชุมทางรถไฟอยู่ที่สถานีอู่ตะเภา (ด้านเหนือของสถานีรถไฟหาดใหญ่ ในปัจจุบันเป็นเพียงที่หยุดรถไฟ) เนื่องจากสถานีอู่ตะเภาเป็นที่ลุ่ม น้ำท่วมเป็นประจำ ทางการรถไฟจึงได้ย้ายสถานีมาอยู่ที่สถานีชุมทางหาดใหญ่ปัจจุบัน ประชาชนได้ทยอยติดตามมาสร้างบ้านเรือนตามบริเวณสถานีนั่นเอง ฉะนั้นอาจกล่าวได้ว่ากิจการรถไฟมีบทบาทต่อการขยับขยายและความเจริญก้าวหน้าของนครหาดใหญ่ตลอดมา   ต่อมาได้มีผู้เห็นการไกลกล่าวว่าบริเวณสถานีรถไฟหาดใหญ่นี้   ต่อไปภายหน้าจะต้องเจริญก้าวหน้าอย่างแน่นอน จึงได้มีการจับจองและซื้อที่ดินแปลงใหญ่จากราษฏรพื้นบ้าน บุคคลที่ครอบครองแผ่นดินผืนใหญ่ ๆ อาทิ นายเจียกีซี (ต่อมาได้รับพระราชทานนาม เป็นขุนนิพัทธ์จีนนคร) คุณพระเสน่หามนตรี นายซีกิมหยง และพระยาอรรถกระวีสุนทร ทั้ง 4 ท่านนี้นับว่าเป็นบุคคลที่มีส่วนในการสร้างสรรค์ ความเจริญก้าวหน้าให้แก่นครหาดใหญ่อย่างแท้จริง ได้ตัดถนนสร้างอาคารบ้านเรือนให้ราษฏรเช่า ตัดที่ดินแบ่งขาย เงินที่ได้ก็นำไปตัดถนนสายใหม่ต่อไป ทำให้ท้องถิ่นรุดหน้าอย่างอัศจรรย์ ชุมชนหาดใหญ่เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว จนทางราชการต้องยกฐานะให้ บ้านหาดใหญ่ เป็นอำเภอที่มีชื่อว่า อำเภอเหนือ
ต่อมาในปี พ.ศ. 2460 ได้เปลี่ยนชื่อจาก อำเภอเหนือ เป็น อำเภอหาดใหญ่ และได้รับการยกฐานะเป็นอำเภอชั้นเอก ในที่สุดปี พ.ศ. 2471 หาดใหญ่มีฐานะเป็น สุขาภิบาล ซึ่งประกาศใช้พระราชบัญญัติสุขาภิบาลเมื่อวันที่ 29 กรกฏาคม 2471 ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ 29 กรกฏาคม 2471


ต่อมาสุขาภิบาลแห่งนี้เจริญขึ้น มีพลเมืองหนาแน่นขึ้น และมีกิจการเจริญก้าวหน้า กระทรวงมหาดไทยจึงได้ประกาศพระราชกฤษฏีกา ยกฐานะเป็นสุขาภิบาลหาดใหญ่เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2478 ซึ่งในขณะนั้นมีเนื้อที่ 5 ตารางกิโลเมตร มีประชากรประมาณ 5,000 คน รวมถึงมีรายได้ประมาณ 60,000 บาท
เนื่องจากประชาชนในเขตเทศบาลอยู่หนาแน่น พร้อมทั้งกิจการได้เจริญขึ้น จึงได้มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะเทศบาลจึงได้มี พระราชกฤษฎีกายกฐานะ เทศบาลตำบลหาดใหญ่ เป็น เทศบาลเมืองหาดใหญ่ เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2492 ตามประกาศใน พระราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ 15 มีนาคม 2492 ในขณะนั้นมีเนื้อที่ 5 ตารางกิโลเมตร มีประชากรประมาณ 19,425 คน มีรายได้ 374,523.33 บาท
ต่อมาประชาชนอาศัยในเขตเทศบาลเพิ่มปริมาณหนาแน่นมากขึ้น พร้อมทั้งกิจการของเทศบาลได้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น จึงได้เปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลจาก เนื้อที่ 5 ตารางกิโลเมตร เพิ่มอีก 3 ตารางกิโลเมตร รวมเป็นเนื้อที่ 8 ตาราง กิโลเมตร ตามพระราชกฤษฎีกา เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2504 ในขณะนั้น โดยมีประชากร 38,162 คน และมีรายได้ 3,854,964.17 บาท
   
ต่อมาท้องที่ในเขตเทศบาลได้เจริญขึ้น มีประชากรอยู่หนาแน่นเพิ่มปริมาณมากขึ้น และเพื่อประโยชน์ในการบริหารและการทำนุบำรุงท้องถิ่น จึงได้เปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองหาดใหญ่ จากเนื้อที่ 8 ตารางกิโลเมตร เพิ่มขึ้นอีก 13 ตารางกิโลเมตร รวมเป็นเนื้อที่ทั้งหมด 21 ตารางกิโลเมตร เมื่อวันที่ 13 เมษายน 2520 ตามพระราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ 12 เมษายน 2520 ในขณะนั้นมีประชากร 68,142 คน มีรายได้ 49,774,558.78 บาท นับได้ว่าเทศบาลเมืองหาดใหญ่เป็นเทศบาลชั้น 1   มีความเจริญก้าวหน้า   มีประชากรหนาแน่น ขยายตัวอย่างรวดเร็วทางด้านเศรษฐกิจและสังคม โดยเฉพาะเป็นเมืองท่องเที่ยว แหล่งศูนย์กลางของหาดใหญ่ ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ รองลงไปได้แก่ศาสนาอิสลาม ซึ่งมีประชากรร้อยละ 10 เท่านั้น อาชีพของราษฎร ได้แก่  การกสิกรรม  การค้า  และการอุตสาหกรรม
การกสิกรรมเป็นอาชีพสำคัญมากชนิดหนึ่ง แต่จะดำเนินการแต่เพียงรอบนอก ในเขตเทศบาลส่วนใหญ่จะทำด้านการค้า ซึ่งมีทั้งขายปลีกและขายส่ง ปัจจุบันกำลังขยายตัวอย่างรวดเร็ว มีการสร้างศูนย์การค้าขนาดใหญ่ขึ้นหลายแห่ง เพื่อจำหน่ายสินค้าสำเร็จรูป ส่วนอุตสาหกรรมที่สำคัญ ได้แก่ การรมควันยาง โรงน้ำแข็ง ปลาป่น แปรรูปไม้ โรงสีข้าว และอื่น ๆ อุตสหกรรมสำคัญอีกประเภทหนึ่งที่ได้รับการส่งเสริมจากเทศบาล และมีการตอบสนองเป็นอย่างดีจากภาคเอกชน คือ การท่องเที่ยว ซึ่งประกอบด้วยธุรกิจที่เกี่ยวข้องอีกหลายอย่าง เป็นต้นว่า โรงแรม บริการนำเที่ยว บาร์ ไนท์คลับ ห้องอาหาร และบริการอื่น ๆ
การศึกษาอยู่ในเกณฑ์ดีมาก มีสถาบันการศึกษาทุกระดับตั้งแต่มหาวิทยาลัย คือ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ตั้งอยู่ที่ตำบลคอหงส์ นอกจากนั้นยังมีวิทยาลัยอาชีวศึกษา โรงเรียนมัธยมศึกษา สายสามัญ และสายอาชีพ ทั้งของรัฐและเอกชนมากมาย จึงจัดได้ว่าเป็นพื้นที่ที่มีความก้าวหน้าทางการศึกษาสูงมาก
ทางด้านสาธารณสุข มีโรงพยาบาลของรัฐ 3 แห่งคือ โรงพยาบาลหาดใหญ่ โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ และโรงพยาบาลค่ายเสนาณรงค์ โรงพยาบาลเหล่านี้จัดได้ว่าเป็นโรงพยาบาลชั้นนำสามารถรักษาโรคต่าง ๆ ได้อย่างกว้างขว้างจนทัดเทียมกับส่วนกลาง ส่วนสถานพยาบาลเอกชนก็มีไม่น้อย การให้บริการด้านการรักษาพยาบาลจึงอยู่ในเกณฑ์ที่ดีมาก หาดใหญ่ยังเป็นศูนย์กลางการคมนาคมทางบก และทางอากาศ มีสนามบินพาณิชย์ขนาดใหญ่อยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ 8 กิโลเมตร หาดใหญ่ยังเป็นชุมทางรถไฟ และศูนย์กลางทางด้านคมนาคม และด้วยศักยภาพที่โดดเด่น และถึงพร้อมด้วยคุณลักษณะรวมไปถึงวิสัยทัศน์ที่ก้าวไกลของผู้บริหารภายใต้การนำของ นายเคร่ง สุวรรณวงศ์ ทำให้เทศบาลเมืองหาดใหญ่ ได้ยกฐานะจาก เทศบาลเมืองหาดใหญ่ เป็น เทศบาลนครหาดใหญ่ ตามประกาศราชกิจจานุเบกษา ฉบับ กฤษฎีกา เล่มที่ 112 ตอนที่ 40 ก ลงวันที่ 24 กันยายน 2538 โดยมีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 25 กันยายน 2538 ซึ่งปัจจุบัน เทศบาลนครหาดใหญ่ มีพื้นที่ทั้งหมด 21 ตารางกิโลเมตร มีประชากร 157,881 คน และมีรายได้ 978,796,627.15 บาท

วันศุกร์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2554

แผ่นดินไหว

มังกร

"มังกรตะวันตก"
มังกร
     ในค่ำคืนที่เงียบสงัด แสงสีเงินของดวงจันทร์ฉาบไปทั่วบริเวณ ไม่มีเสียงใดๆ นอกจากเสียงหายใจอันแผ่วเบาของอัศวินหนุ่มในชุดเกราะหนักอึ้ง ทุกย่างก้าวของเขาเงียบเชียบ ระแวดระวัง ใจจดจ่ออยู่กับดาบขนาดใหญ่ในมือ สิ่งนี้ คือเครื่องมือชนิดเดียวที่สามารถไว้ใจและพึ่งพาได้ในยามนี้ พลันมีเสียงคำรามกึกก้องพร้อมๆ กับแสงจากเปลวไฟสว่างวาบ อาบย้อมแสงสีเงินยวงของดวงจันทร์ ให้กลายเป็นสีส้มแดง

     เบื้องหน้าอัศวินหนุ่มคือสัตว์ 4 เท้าร่างยักษ์ที่มีปีกเหมือนค้างคาว ผิวหนังเป็นเกล็ดหยาบหนา กำลังพ่นเปลวไฟอันร้อนแรงออกมาทางจมูก ชายหนุ่มรู้ดี เขาอาจตกเป็น "เหยื่อ" ของสัตว์ชนิดนี้ แต่ถ้าเขาผ่านมันไปได้ เขาจะกลายเป็นตำนาน...
..............
มังกร               มังกร
     "มังกร" เป็นสัตว์ในตำนาน ที่มีอยู่ทั้งในวัฒนธรรมตะวันตกและตะวันออก โดยที่มังกรในฝั่งตะวันออกนั้น จะอยู่ในฐานะของกึ่งสัวต์กึ่งเทพเจ้า และเป็นที่เคารพบูชาของมนุษย์ ส่วนผู้คนในฝั่งตะวันตกนั้น มักจะมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อมังกร มองว่ามังกรเป็นสัตว์ทรงอำนาจที่ดุร้าย และอยู่ฝ่ายอธรรมเสมอ
     ในตำนานต่างๆ ของยุโรป มีเรื่องเล่าของอัศวินและการล่ามังกรปรากฎอยู่มากมาย เพราะการล้มมังกร เป็นเสมือนการแสดงความกล้าหาญ และการแสดงตนว่าอยู่ฝ่ายธรรมะ นอกจากนั้น ในร่างกายของมังกร ยังมีสิ่งวิเศษที่มนุษย์ปรารถนาอยู่ด้วย
     มีความเชื่อกันว่า ในหัวของมังกร มีหินวิเศษที่มีชื่อว่า Draconite ซึ่งจะเื้อื้อพลังและอำนาจให้แก่ผู้ที่ครอบครองมัน แต่การที่จะนำ Draconite ออกมาจากหัวของมังกร จะต้องทำในขณะที่มันยังมีชีวิตอยู่เท่านั้น เพราะถ้ามังกรเสียชีวิตลง Draconite ที่อยู่ในหัวของมังกรจะกลายเป็นของเหลวที่ไร้ค่าในไม่กี่อึดใจ
     ดังนั้น การจะได้มาซึ่ง Draconite จะต้องต่อสู้ซึ่งหน้ากับมังกร และผ่าเอา Draconite ออกมาก่อนที่มังกรจะขาดใจตาย
     สิ่งวิเศษอีกประการที่เป็นยอดปรารถนาของนักล่ามังกรก็คือ เลือดของมัน เพระถ้าใครได้อาบเลือดมังกรแล้ว จะคงกระพันชาตรี ไม่มีอาวุธใดๆ สร้างความเสียหายให้แก่ร่างกายได้
     ดังเช่นในตำนานของยุโรปเหนือ ชายที่ชื่อ ซิคฟรีด (Siegfried) ได้อาบเลือดมังกรจึงทำให้ร่างกายเป็นอมตะ แต่สุดท้ายแล้ว เขาก็ต้องจบชีวิตลง เพราะมีใบไม้เจ้ากรรม มาติดอยู่ที่แผ่นหลังของเขา ในขณะที่กำลังอาบเลือดมังกร ทำให้หลงเหลือจุดอ่อนอยู่หนึ่งจุดบนร่างกาย (ทำนองเดียวกับ เฮอร์คิวลิส ซึ่งมีจุดอ่อนอยู่ที่ข้อเท้า)
มังกร
     นอกจากเลือดมังกรแล้ว ฟันของมังกรก็ยังมีฤทธิ์ในการสร้างกองทัพนักรบปีศาจขึ้นมาอีกด้วย ทั้งนี้อวัยวะส่วนอื่นๆ ของมังกรยังมีความพิเศษเล็กๆ น้อยๆ ต่างกันไป เช่น ถ้ามีใครกินหัวใจของมังกรเข้าไป จะสามารถฟังภาษานกรู้เรื่อง หรือถ้ากินลิ้นของมังกรก็จะมีฝีปากเป็นเอก ฯลฯ
     กำเนิดของมังกรตะวันตก ไม่มีตำนานแน่ชัด บ้างก็ว่ามังกรเป็นสิ่งแรกที่เกิดขึ้นในจักรวาล และเนื่องจากความหิวและโดดเดี่ยวทำให้มังกรไล่กินหางตนเอง พร้อมกับทำการผสมพันธุ์กับตัวเอง จนเกิดเป็นมังกรจำนวนมากมาย
     นักโบราณคดีบางคนกล่าวว่า "มังกร" คือเทพเจ้า "อหุระ มาสด้า (Ahura Mazda)" ซึ่งเป็นเทพเจ้าสูงสุดของศาสนาโซโรสัสเตอร์ ที่เคยรุ่งเรืองในแถบเปอร์เซียในอีดต ซึ่งอันที่จริงแล้ว อหุระ มาสด้า คือเทพเจ้าที่ดี แต่ถูกป้ายสีให้กลายเป็นมังกรที่ชั่วร้ายจากศาสนาอื่นที่ต้องการให้ศาสนาโซโรอัสเตอร์เสื่อมถอยลง
     แต่ถึงแม้มังกรตะวันตก จะเป็นสัญลักษณ์ของความชั่วร้าย แต่ในขณะเดียวกัน มังกรก็หมายถึงอำนาจด้วย ดังนั้น ตระกูลขุนนางอัศวินยุโรป จึงมักจะใช้มังกรเป็นตราสัญลักษณ์ตระกูล ใน เวลส์ ก็มีการเอาสัญลักษณ์มังกรไปประดับไว้บนธง แม้แต่กษัตริย์อาเธอร์ ก็ยังใช้นามสกุล Pendragon ซึ่งมีความหมายว่า "ศรีษะมังกร"
ฟีนิกซ์



นกฟีนิกซ์ (Phoenix) หรือ นกแห่งไฟ บ้างก็เรียกว่า bird of paradise (นกแห่งสรวงสวรรค์)หรือ อีกชื่อที่คนจีนเรียกว่า นกฟงหวง เป็นนกที่มีความหมายของความเป็นอมตะ การเกิดใหม่ และชีวิตหลังความตาย ซึ่งในตำนานของเทพเจ้ากรีกและอียิปต์ นกฟีนิกซ์ยังมีความเกี่ยวข้องกับเทพแห่งดวงอาทิตย์อีกด้วย

ส่วนลักษณะของนกฟีนิกซ์ มีขนาดตัวเท่ากับนกอินทรีย์ มีขนสีทองรอบๆ ลำคอ ลำตัวมีสีม่วง และหางสีฟ้าน้ำทะเล บ้างก็ว่าขนของมันเป็นสีทองสลับสีแดง (นกฟินิกซ์ของชาวจีนมีถึง 5 สีเลยด้วยซ้ำ) ส่วนหัวจะมีพู่ประดับเป็นขนนกยาว บางที่อธิบายว่ามีลักษณะคล้ายกับนกยูงหรือนกอินทรีย์ก็มี

ในตำนานกรีก นกฟีนิกซ์จะอาศัยอยู่ในแถบอาระเบีย โดยจะอาศัยอยู่ในบริเวณแหล่งน้ำที่มีอากาศเย็น ทุกๆ เช้าที่ตะวันเริ่มสาดแสง เทพแห่งดวงอาทิตย์จะต้องหยุดรถม้าเพื่อฟังเสียงร้องอันแสนไพเราะของนกฟินิกซ์ยามที่มันเล่นน้ำทุกวัน

นกฟินิกซ์จะมีอายุราว 500-1,461ปี (บางที่แบ่งอย่างนี้นะคะ 500, 540, 1,000 ,1,460 ปี ไม่มากไม่น้อยไปกว่านี้แล้วค่ะ ในแต่ละแหล่งที่ la plume ลองหาดู ข้อมูลของอายุจะมีความใกล้เคียงกันค่ะ) มันจะเผารังที่สร้างขึ้นจากไม้ที่มีกลิ่นหอม (ที่เห็นส่วนใหญ่ก็จะพูดถึงแต่ myrrh) เพื่อที่จะเผาร่างตัวเองไปพร้อมกัน และถือกำเนิดขึ้นอีกครั้งจากกองขี้เถ้าของตัวเอง ซึ่งการเกิดใหม่ของนกฟินิกซ์นี้ก็เปรียบเทียบได้กับดวงอาทิตย์ ที่จะต้องลับของฟ้าทุกเย็นแล้วก็ต้องขึ้นใหม่ทุกๆ เช้า

มีบางตำนานเล่าว่า นกฟินิกซ์คืนชีพขึ้นมาจากเศษไม้ที่ไหม้ไปแล้วนั่นแหละ แล้วก็นำขี้เถ้าของนกตัวเก่าบรรจุไว้ในไข่ที่ทำจากไม้ myrrh แล้วก็นำไปเก็บไว้ที่เมืองเฮลิโอโปลิส (Heliopolis) ที่ประเทศอียิปต์ ซึ่งเมืองนี้มีความหมายว่า นครแห่งดวงตะวัน (city of the sun) โดยจะทำไปวางไว้บนแท่นบูชาของเทพแห่งดวงอาทิตย์ (เทพเจ้าแห่งพระอาทิตย์ของอียิปต์ คือ เทพรา Ra)

คราวนี้มาดูวิธีเกิดของนกฟีนิกซ์แบบฉบับชาวอัสซีเรียบ้าง (อัสซีเรียเป็นชนเผ่าโบราณที่อาศัยอยู่ในบริเวณลุ่มน้ำไทรกรีซ ยูเฟรติส ปัจจุบันก็คงเป็นแถบซีเรีย หรือตอนเหนือของซาอุดิอาระเบียโน่นแน่ะ มันนานแล้วอ่ะ la plume ชักลืมๆแฮะ) ชาวอัสซีเรียเล่าว่านกฟินิกซ์จะมีอายุแค่ 500 ปี ก็จะทำพิธีการกำเนิดใหม่ ซึ่งแบบฉบับอัสซีเรียไม่เหมือนใครก็ตรงที่ว่า นกฟินิกซ์จะสร้างรังจากไม้และยางที่มีกลิ่นหอมไว้บนกิ่งของต้นโอ๊ค หรือไม่ก็บนยอดของต้นปาล์ม นอกจากนี้ยังมีลูกจันทร์เทศ (cinnamon) แล้วก็ spikenard (สไปค์นาร์ดเป็นยังไงก็ไม่รู้แฮะ ภาษาไทยไม่มีคำแปล แต่ dic ภาษาอังกฤษบอกว่าเป็นต้นไม้ชนิดหนึ่งที่รากของมันมีกลิ่นหอม) และ myrrh ที่เป็นส่วนประกอบสำคัญในการสร้างรังของมันด้วย จากนั้นมันก็จะตายลงพร้อมลมหายใจเฮือกสุดท้ายท่ามกลางกลิ่นหอมอบอวล แล้วลูกนกฟินิกซ์ตัวใหม่ก็จะถือกำเนิดอยู่ตรงหน้าซากของนกตัวเก่าแล้วก็จะมีวงจรชีวิตเหมือนกับนกฟินิกซ์ตัวเก่าต่อไปเรื่อยๆ ว่ากันว่าถ้ามันแข็งแรงพอแล้ว มันจะหิ้วรัง (รังที่นกตัวเก่าตายและมันเกิดขึ้นมาใหม่) ไปฝากในวิหารแห่งดวงตะวันที่เมือง Heliopolis เช่นกัน

คราวนี้เรามาดูตำนานนกฟินิกซ์ในอียิปต์กัน อียิปต์เรียกนกฟินิกซ์ว่าบีนู (Benu) ซึ่งหมายถึง นกฮีรอนสีม่วง (heron เป็นนกกินปลาชนิดหนึ่ง) ในช่วงฤดูน้ำหลากของแม่น้ำไนล์ซึ่งหมายถึงเวลาที่แม่น้ำสายสำคัญในอียิปต์ได้เอ่อล้นท่วมผืนแผ่นดินที่แห้งแล้วให้อุดมสมบูรณ์อีกครั้งนั้น (ถ้าใครเคยอ่านคำสาปฟาโรห์จะมีประโยชน์มาก) ผู้คนจะมองเห็นเจ้านกบีนูหรือนกฟินิกซ์นี้จากบนที่สูง และแลดูคล้ายกับพระอาทิตย์กับลังลอยอยู่เหนือน้ำ ซึ่งผู้คนก็เชื่อมโยงเข้าไปเกี่ยวกับเทพรา (เทพดวงอาทิตย์) ที่วิหารเฮลิโอโปลิส ซึ่งตำนานของเมืองเฮลิโอโปลิสกล่าวว่า บีนูจะถือกำเนิดใหม่จากเปลวไฟอันศักดิ์สิทธ์ ณ วิหารของเทพเจ้ารา โดยบีนูจะขึ้นไปนอนอยู่บนแท่นที่เรียกว่า bnbn-stone

ทั้งนี้มีอีกตำนานที่เล่าถึงเรื่องการเกิดใหม่ของเทพอียิปต์องค์หนึ่งซึ่งชื่อโอซิริสก็เป็นผู้หนึ่งที่ตายแล้วเกิดใหม่ โดยนกบีนูถือกำเนิดมาจากหัวใจของเทพองค์นี้นั่นเอง

นกยูงไทย

นกแก้ว

นกนับได้ว่าเป็นสัตว์โลกชนิดเดียวที่มนุษย์ได้ทำความรู้จักคุ้นเคยมากกว่าสัตว์ป่า ชนิดอื่น ๆ คนเราได้ทำการสังเกต ค้นคว้า เฝ้าดูชีวิตของนกมานับพัน ๆ ปีแล้ว ได้มีผู้ทำการทดลองสำรวจชนิดของนก และประมาณว่ามีประมาณ 8,600 ชนิดด้วยกันบนผิวโลกนี้ นับว่าเป็นจำนวนที่มากมายเกินกว่าที่จะจดจำและรู้จักได้ทั่ว ถึงหมด นกทั้ง 8,600 ชนิดนี้ กระจัดกระจายอยู่ตามทวีปต่าง ๆ บ้างก็อยู่บนยอดเขาสูง ๆ บ้างก็อยู่ในป่าทึบ บางชนิดก็ อาศัยอยู่ริมบ้านคน ในสวน ทุ่งนา ทุ่งหญ้า และบางชนิดก็อาศัยอยู่ในน้ำแข็งทางขั้วโลกใต้ เป็นต้น เนื่องจากนกมีมาก มายหลายชนิดนี่เอง จึงเป็นการยากสำหรับผู้ที่สนใจศึกษาค้นคว้าจะเรียกชื่อได้ถูกต้องได้ เพราะนกชนิดเดียวกัน แต่ ละท้องถิ่น แต่ละภาษา ต่างก็เรียกกันไปคนละอย่าง คนละชื่อ ดังนั้นนักปราชญ์จึงได้พยายามค้นคว้าหาวิธีเรียกชื่อ แล ะ จัดรวบรวมชนิดสัตว์ให้เข้าเป็นหมวดเป็นหมู่ เพื่อให้สะดวกต่อการค้นหาเรียกชื่อ ในปี พ.ศ. 2301 นักปราชญ์ชาวสวีเดน ชื่อ คาโรลัสลินเนียส (Carolus Linneus) ได้คิดวิธีเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตขึ้น ซึ่งทั่วโลกได้ยอมรับว่าเป็นวิธีการที่เหมาะสม ง่าย และสะดวกต่อการค้นคว้า และนอกจากวิธีเรียกชื่อแล้ว ลินเนียส ยังได้ค้นคว้าวิธีรวบรวมสิ่งมีชีวิตให้เข้าเป็นหมวด เป็นหมู่ ตามลักษณะกรรมพันธุ์อีกด้วย การรวบรวมหรือจำแนกสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ เหล่านี้ให้เข้าเป็นหมวดเป็นหมู่ เราเรียกว่า ” การจำแนกชนิด

ประเพณีสงกรานต์

ประวัติดรเรียนวัดหัวกระบือ

โรงเรียนวัดหัวกระบือ  เป็นโรงเรียนประถมศึกษา  สังกัดกรุงเทพมหานคร
 เปิดทำการสอนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑  ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖  ตั้งขึ้นเมื่อวันที่
๒๓  กุมภาพันธ์  พ.ศ.๒๔๗๕  โดยขุนพำนักชนบท ( นายอำเภอ )  เป็นผู้เปิด  ปีแรกมี
นักเรียนทั้งหมด  ๘๗ คน อาศัยศาลาการเปรียญของวัดหัวกระบือ เป็นที่เรียนใช้ชื่อว่า
"โรงเรียนประชาบาล" ตำบลท่าข้าม ๑ ( วัดหัวกระบือ ) ต่อมากระทรวงศึกษาธิการ 
ได้ให้ตัดคำว่า  "ประชาบาล" ออก  จึงเหลือเพียง  "โรงเรียนวัดหัวกระบือ"
         พ.ศ.๒๔๙๐ - ๒๔๙๑ ทางวัดรื้อศาลาการเปรียญเพื่อสร้างใหม่  จึงย้ายไปเรียน
ที่โรงลิเกของวัด  ศาลาริมน้ำและโรงบ่อนไก่  กำนันแปลก  บุญศุข ( กำนันตำบลท่าข้าม )
เมื่อศาลาการเปรียญสร้างเสร็จเรียบร้อยจึงกลับมาเรียนที่เดิม
         พ.ศ.๒๕๐๕  คณะครูจังหวัดธนบุรี ( เดิม )  ได้ร่วมกันทอดกฐินที่วัดดหัวกระบือ
เพื่อนำเงินส่วนหนึ่งสมทบสร้างอาคารเรียนถาวรได้เงินทั้งสิ้น  ๑๐,๐๔๕.๖๐  บาท 
จึงย้านสถานที่มาตั้งอยู่ในที่ปัจจุบัน
         ปัจจุบันโรงเรียนวัดหัวกระบือ  เปิดทำการสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาล ถึง ชั้นมัธยม-
ศึกษาปีที่ ๓  มีข้าราชการครู ๔๗ คน  ครูผู้ช่วย ๘ คน  คนเลี้ยงเด็ก ๖  คน  ธุรการ ๑ คน
  นักการ - ภารโรง ๔ คน  คนงาน ๑ คน  ยาม ๑ คน  นักเรียน ๑,๒๑๒ คน

วันพฤหัสบดีที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ประวัติหลวงพ่อโต

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรสี) มีประวัติเป็นที่ประทับใจประชาชนคนไทยอย่างไรเห็นจะไม่ต้องพูดกัน เพราะหลายท่านทราบกันดีอยู่แล้วในกิตติศัพท์อันเลื่องลือของ "สมเด็จโต" โดยที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรสี) ได้เคยเป็นเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตารามเมื่อ พ.ศ. 2395 และวัดระฆังเป็นวัดที่อยู่ในพื้นที่เขตบางกอกน้อย ชาวบางกอ น้อยจึงถือท่านเป็นเสมือนเพชรประดับในเรือนใจของชาวบางกอกน้อย
            วันที่ 15 ตุลาคม 2538 เป็นวันที่เขตบางกอกน้อยมีอายุครบ 80 ปี ผู้เขียนจึงขอเชิญประวัติและอภินิหารของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรสี) ตามที่ได้มีตำนานเล่าขานกันมา มาเรียบเรียงไว้ในหนังสือ "80 ปี เขตบางกอกน้อย" โดยหวังให้เป็นมูลสำหรับอนุชนรุ่นหลังได้ศึกษาหาความรู้สืบไป

ประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต พรหมรสี)
ชาตะ วันพฤหัสบดีที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2331 ตรงกับเดือน 5 ขึ้น 12 ค่ำ ปีวอก จ.ศ. 1150 เวลา พระบิณฑบาต 06.45 น. (ย่ำรุ่ง 9 บาท ) มารดาชื่อ งุด เกศ บิดาไม่ปรากฏแน่ชัด(บางแห่ง อ้างว่าเป็นราชวงศ์จักกรี)
บวชเป็นสามเณร เมื่ออายุได้ 13 ปี ณ วัดใหญ่เมืองพิจิตร ต่อมาย้ายมาศึกษาพระปริยัติธรรม ณ เมือง ชัยนาทพออายุได้ 18 ปี ก็ย้ายมาศึกษากับอาจารย์แก้ว วัดบางลำพู กรุงเทพฯ และยังได้ ศึกษาพระปริยัติธรรมกับเสมียนตราด้วง ขุนพรมเสนา ปลัดเสนา ปลัดกรมนุท เสมียนบุญ และพระกระแสร์ต่อมาได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระลูกยาเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงอดิศร สุนทร พระ บรมโอรสาธิราชให้ทรงโปรดมาอยู่กับสมเด็จพระสังฆราช วัดมหาธาตุ
บวชเป็นพระภิกษุ พอถึง พ.ศ. 2351 อายุ 21 ปี สมเด็จเจ้าฟ้าพระบรมราชโอรสทรงรับภาระบรรพชาเป็น นาคหลวงโดยให้ไปบวชที่วัดตะไกร จังหวัดพิษณุโลก ซึ่งโยมแม่และญาติมีภูมิลำเนาอยู่ที่นั่น แล้วมาประจำอยู่กับพระสังฆราชวัดมหาธาตุต่อไป
เป็นเจ้าอาวาสวัดระฆังฯ เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 สวรรคตลง เจ้าฟ้าทูลกระหม่อม ซึ่ง บวชตลอดรัชกาลที่ 3 ที่วัดบวรฯ ก็ลาสิขาบทขึ้นเสวยราชย์เป็นรัชกาลที่ 4 แห่งราชวงศ์จัก กรี ก็ได้ทรงมีพระบรมราชโองการให้เป็น "พระธรรมกิตติ" ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัด ระฆัง เมื่อ พ.ศ. 2395 ได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสได้ไม่นาน พอถึง พ.ศ. 2397 ก็โปรด เกล้าฯ ให้เป็น "พระเทพกวี" ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2407 ก็โปรดเกล้าฯ ให้เป็น "สมเด็จพระ พุฒาจารย์" ชาวบ้านทั่ว ๆ ไปเรียกกันว่า "สมเด็จพุฒาจารย์โต วัดระฆัง" เรียกไปเรียกมา เหลือเพียง "สมเด็จโต" ในทีสุด ขณะที่โปรดเกล้าฯ เป็นสมเด็จนั้น มีอายุได้ 78 ปี อายุ พรรษาได้ 56 พรรษาแล้ว
มรณภาพ สมเด็จโต จะอาพาธด้วยโรคอะไรไม่ปรากฏ มรณภาพเมื่อวันเสาร์ แรม 2 ค่ำ เดือน 8 (ต้น) ปีวอก จ.ศ. 1234 ตรงกับวันที่ 22 มิถุนายน 2415 เวลาประมาณ 24.00 น.เศษ บนศาลา ใหญ่วัดอินวรวิหาร บางขุนพรหม
สรุป สมเด็จโตมีสิริรวมชนมายุของท่านได้ 85 ปี ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม ได้ 20 ปี บริบูรณ์ ดำรงฐานันดรศักดิ์ สมเด็จพระพุฒาจารย์โตมาได้ 7 ปี เศษ 65 พรรษา สมเด็จโตทรงถวายความจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเปํนที่ยิ่ง ไม่ว่าจะเป็นทางตรงและทางอ้อมทุกประการ
อัจฉริยะและภูมิปัญญา
             ท่านสมเด็จโตนั้น เป็นคนที่เกิดอายุได้ 5 รัชกาล ตั้งแต่รัชกาลที่ 1 จนถึงรัชกาลที่ 5 มีแม่เป็นชาวบ้านธรรมดา ชื่อใดนั้นตามประวัติหลายต่อหลายเล่มมิได้กล่าวอ้าง สมเด็จท่านเป็นคนอัจฉริยะภูมิปัญญาแตกฉาน ตั้งแต่เด็จโตขึ้นบวชเณรก็มีผู้อุปถัมภ์ค้ำชูมาโดตลอด ไม่เคยยุ่งเกี่ยวทางด้านโลกีย์ หญิงใด ๆ มาชอบพอไม่เคยสน เป็นเด็กว่านอนสอนง่าย มักไม่เชื่ออะไรง่าย ๆ ชอบดู เหตุผล ชอบคิดวิเคราะห์สติปัญญาจึงแตกฉาน พอโตขึ้นมาอายุได้ครบบวชเป็นพร ท่านก็บวชสละเณรเปลี่ยนบวชเป็นพระต่อไปเลย การบวชเป็นพระนั้นเป็นที่ฮือฮาชอบพอรักใคร่ของผู้หลักผู้ใหญ่จนถึงกษัตริย์ จัดเป็นนาคหลวง เมื่อบวชเป็นพระเสร็จ ท่านได้เที่ยวสัญจรไปมาตามที่ต่าง ๆ ตามนิสัยของท่านที่ของค้นคว้าหาความรู้จึงมุ่งศึกษาหาอาจารย์ต่าง ๆ ที่คงแก่เรียนด้านวิปัสสนากรรมฐานสมถะ จากอาจารย์ต่าง ๆ ของเดินธุดงค์พงไพรไป ขณะนั้นยศของท่านยังไม่ได้ยศเป็นสมเด็จ เป็นพระธรรมดา อาศัยท่านแตกฉานด้านปัญญา พระไตรปิฎกท่านรู้อย่างดี จิตใจท่านมุ่งแต่บูชาพระศาสนาให้เจริญรุ่งเรือง ท่านจึงริเริ่มสร้างพระขึ้นมา สมัยที่ขณะนั้นยศยังไม่ได้เป็นสมเด็จ ท่านสร้างขึ้นตามใจของท่าน รูปแบบพิมพ์พระสมเด็จที่ท่านสร้างตอนนั้น มิใช่เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่เรากำลังแสวงหาพระสมเด็จกัน รูปทรงพิมพ์สมเด็จขณะนั้นเป็นรูปคดหอย จับผงมาปั้นเป็นก้อน ๆ ยาว ๆ แล้วก็วนเป็น คดหอย ปลุกเสกแจกชาวบ้าน บางพิมพ์ก็เป็นรูปปูก็มี เป็นรูปต่าง ๆ ก็มีแสดงให้เห็นว่า ท่านสมเด็จเริ่มสร้างพระสมเด็จตั้งแต่ยังไม่ได้ยศสมเด็จจากในหลวงแต่งตั้ง วัดที่ท่านได้ไปอยู่ก็หลายต่อหลายวัด แต่ในที่นี้เราจะเอาเฉพาะวัดที่สำคัญในตระกูลพระสมเด็จที่เล่นกันอยู่ นั่นคือ วัดเกศไชโย วัดบางขุนพรหม และวัดระฆัง ทั้งสามวัดนี้ ท่านได้สร้างพระสมเด็จขึ้นมาจนทุกวันนี้เราก็ต่างเสาะแสวงหากันอยู่ การสร้างนั้นท่านสมเด็จจะปลุกเสกเดี่ยวแต่เพียงผู้เดียว เพราะฉะนั้นพลังจิตในพระสมเด็จทุกรุ่นทุกพิมพ์จึงเป็นพลังจิตของท่าน
            หลังจากที่ท่านได้ร่ำเรียนจนสำเร็จวิปัสสนาญาณกรรมฐานชั้นสูง ท่านก็ได้มีอาจารย์อยู่คนหนึ่ง อาจารย์คนนั้นท่านผู้อ่านอาจจะนึกเดาถูก นั่นคือ สมเด็จพระสังฆราชสุกไก่เถื่อน เหตุที่เรียกว่าสังฆราชสุกไก่เถื่อน เพราะมีไก่ป่า ท่านสังฆราชเอามาเลี้ยงจนเชื่องเล่นกันได้ จึงได้ฉายาว่าสังฆราชสุกไก่เถื่อน พระสังฆราชนั้นเป็นอาจารย์ของสมเด็จโต พร่ำสอนวิชาต่าง ๆ ให้จนสมเด็จโตเก่งแตกฉานทุกอย่าง สม้ยนั้นสมเด็จพระสังฉราชสุกไก่เถื่อนได้สร้างพระสมเด็จวัดพลับขึ้นมาปลุกเสกเอง ซึ่งสมเด็จโตก็รู้ จากนั้นมาไม่นาน ท่านสมเด็จโตก็ได้มาเป็นเจ้าอาวาสวัดระฆัง จากการที่ได้รับยศเป็นถึงสมเด็จนั้น ท่านจำไจยอมรับ เพราะตอนนั้นในหลวงเป็นเจ้าฟ้า ซึ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะฟ้านั้นปกคลุมพื้นดินไปหมด จะหนีฟ้าก็ไม่พ้น แต่ถ้าเป็นเจ้าแผ่นดินสมเด็จโตท่านมีความรู้ย่อมหนีพ้นจึงไม่รับยศ หนีออกนอกแผ่นดิน โดยเดินธุดงค์ไปหลายเดือนเพื่อหนียศ แต่นี่กษัตริย์เป็นยศถึงเจ้าฟ้าไม่พ้นจึงจำใจรับยศสมเด็จ และเป็นเจ้าอาวาสตั้งแต่นั้นมา ขณะนั้นเองเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่แปลกแหวกแนวพิสดารมากมายตลกขบขันก็มีเกิดขึ้นบ่อย ๆ อาทิเช่น มีฝรั่งต่างชาติรู้ข่าวว่าท่านสมเด็จโตเก่งอัจฉริยะ จึงลองภูมิปัญญาท่านสมเด็จโตว่า "จุดศูนย์กลางของโลกอยู่ตรงไหน?" ท่านสมเด็จตอบฝรั่งไปว่า "จุดศูนย์กลางของโลกนั้นอยู่ทุกหนทุกแห่งบนพื้นผิวโลก ไม่ว่าฉันจะไปยืน ณ ที่ใดตรงนั้นคือจุดศูนย์กลางของโลก " ฝรั่งถามว่า ท่านพิสูจน์ให้เห็นได้ไหม ? ท่านสมเด็จตอบว่า "ฉันพิสูจน์ได้แล้วท่านจะว่าอย่างไร "ฝรั่งไม่ตอบ จากนั้นสมเด็จโตก็ถือตาลปัตรมือหยิบสายสิญจน์แทนเชือก เอาสายสิญจน์ผูกที่ตาลปัตรเอาตาลปัตรปักดินแลังดึงเชือกสายสิญจน์ให้ตึงกางออก ใช้ปลายนิ้วแทนดินสอ จากนั้นก็ลากลงบนพื้นดินเป็นวงกลม ท่านสมเด็จบอกว่า วงกลมคือโลก เพราะฉะนั้นฉันยืนอยู่จุดศูนย์กลางของโลกตรงจุดที่ตาลปัตรปักดินนั้นแหละ เมื่อเป็นเช่นนี้ฝรั่งยอมแพ้กลับไป ยังมีอีกหลายเรื่องที่ท่านสมเด็จโตย่อมรู้กาลเวลาอนาคตมีครั้งหนึ่ง หญิงจีนมาขอหวยท่านสมเด็จโต แอบมานัดกับเด็กวัดโดยแนะให้ขึ้นไปคุยกับท่านสมเด็จโตบนกุฏิให้เด็กวัดชวนพูดแล้วบีบนวดไป จากนั้นเด็กวัดก็ถามท่านสมเด็จโตว่า "ท่านตา ท่านตา หวยงวดนี้มันจะออกอะไร " เมื่อท่านสมเด็จโตได้ยินดังนั้น ท่านก็ตอบว่า ข้าตอบไม่ได้โว้ย เดี๋ยวหวยของข้าจะรอดร่อง ขณะนั้นก็บังเอิญอาเจ็คคนนี้แกแอบอยู่ใต้ถุนกุฏิแกแอบได้ยินสมเด็จโตพูดอย่างนั้นก็เปิดแน่บไปเลย
            นอกจากเหตุการณ์ดังกล่าวแล้ว ก็ยังมีเหตุการณ์อื่น ๆ อีก มีครั้งหนึ่งขณะที่ท่านสมเด็จโตกำลังจะไปธุระ บังเอิญเรือติดหล่มต้องเข็นเรือกัน ท้านสมเด็จโตได้เอาพัดยศวางไว้ในเรือแล้วรีบมาช่วยคนอื่นซึ่งเป็นลูกศิษย์เข็นเรือ บังเอิญชาวบ้านแถบนั้นแลเห็นเข้าหัวเราะชอบใจขบขัน พูดตะโตนออกมาว่า "ดูท่านสมเด็จเข็นเรือ" เสมือนหนึ่งล้อเลียนท่านในเชิงปัญญาขบขันเมื่อเป็นเช่นนั้นสมเด็จโตก็พูดออกมาว่า สมเด็จเขาไม่ได้เข็นเรือหรอกจ้ะ สมเด็จท่านอยู่บนเรือ ว่าแล้วท่านสมเด็จโตก็ชี้มือไปที่พัดยศในเรือ เมื่อชาวบ้านต่างได้ยินได้ฟังแลเห็นเช่นนั้น ก็เงียบกริบไม่ว่าอะไร เรื่องพิสดารอย่างนี้ก็สมีเกิดขี้นเราขอพาท่านไปดูเหตุการณ์ในอีกลักษณะหนึ่งซึ่งเป็นเรื่องลองภูมิปัญญากัน มีครั้งหนึ่ง ท่านในหลวงได้มีราชโองการโปรดเหล้าให้ท่านสมเด็จโตเข้าเฝ้าถวายพระธรรมเทศนาในวัง เมื่อสมเด็จโตท่านมาถึงนั่งธรรมมาสก์เสร็จก็เอ่ยปากพูดว่า "ตีพระมหาบพิธก็รุ้ ชั่วพระมหาบพิธก็รู้ เพราะฉะนั้นวันนี้อากาศแจ่มใสดี เอวังก็มีด้วยประการฉะนี้" เมื่อเจ้าเหลวงได้ยินดังนั้น ก็แลเห็นท่านโตลุกจากธรรมมาสก์แล้วมิได้มองเจ้าหลวง เจ้าหลวงเห็นดังนั้นจึงเอ่ยปากเรียกสมเด็จโตว่า ท่านโต ท่านโต ทำไมถึงเทศน์จบเร็วจัง ไงไม่เข้าใจ ท่านโตก็เฉลยว่าที่พูดว่าอากาศแจ่มใสดี ดีก็รู้ ชั่วก็รู้ ก็หมายถึงว่าวันนี้จิตใจของพระมหาบพิธรื่นเริงสดชื่น ปราศจากความหม่นหมองใจ ก็คือความหมายที่ว่าอากาศแจ่มใสดี อาตมาจึงเทศน์เพียงเท่านี้ เพราะไม่รู้จะพูดอะไร เมื่อพระมหาบพิธได้ยินดับนั้นก็รู้สึกเข้าใจในความหมายเทศน์ เป็นยังไงท่านผู้อ่าน เรื่องราวแหลวแหวกแนวพิสดารแสดงกถึงภูมิปํญญาอัจฉริยะของท่านสมเด็จโต ยังมีอีกมากมายที่จะบอกเล่าให้ท่านผู้อ่านได้รู้กัน     
            มีอยู่ตอนหนึ่ง ขณะที่เจ้าหลวงเชิญสมเด็จโตมาเทศน์ วันนั้นท่านโตเทศน์นานแล้วนานเล่าจนกิริยาอาการของเจ้าหลวงเริ่มเหนื่อยหน่ายหงุดหงิด พอท่านโตเทศน์เสร็จ เจ้าหลวงถามท่านโตว่า ท่านโตวันนี้ทำไมถึงเทศน์นานจัง เราเมื่อย เหนื่อย อยากจะถาม ท่านโตได้ยินดังนั้นก็ตรัสตอบไปว่า ก็วันนี้จิตใจของมหาบพิธเต็มไปด้วยความทุกข์เร่าร้อนในอารมณ์ตลอดเวลา จึงเทศน์ให้มันเย็นจึงนานไปหน่อย
            ยังมีอีกเรื่องหนึ่งที่จะกล่าวถึง คือ ในวันนั้น ท่านสมเด็จโตได้ออกจากกุฏิมุ่งหน้าไปธุรกิจ แจงเรือผ่านไปตามคลองชาวบ้านก็แลเห็น ต่างก็พูดขอหวยท่านโตต่าง ๆ นานา รู้กิตติศัพท์ว่า ท่านให้แม่น สงสารคนจน และเวลาเทศนาธรรมที่ใด ท่านสมเด็จได้เงินกัณฑ์เทศน์มา ก็นำมาแจกชาวบ้านและเด็กจน ๆ แม้แต่สตางค์แดงเดียวก็มิเอา ครั้นพอขากลับวัด ท่านสมเด็จโตก็ซื้อหม้นขนมาเต็มลำเอเอ่เจตนารมณ์จะบอกใบ้ให้ชาวบ้านจน ๆ ตึปริศนาไปแทงกัน เพราะรู้ว่าหวยจะต้องออก "" มอม้า วันนี้ จึงซื้อหม้อมาเต็มลำเรือ บังเอิญชาวบ้านที่ท่านสมเด็จโตแจงเรือผ่านมาตามริมคลองแลเห็นเข้าต่างก็ตะโกนพูดว่า "ท่านโตเป็นอะไร ทำไมถึงซื้อหม้อมาเยอะแยะนะ" แต่ก็มีชาวบ้านที่ปัญญาฉลาดตีความถูก วันนั้นพอเห็นท่านโตซื้อหม้อมาเยอะแยะรู้ว่าหวยออก ม. มอม้า จึงรีบไปแทง ครั้นพอหวยประกาศออกมาปรากฏว่า ออก "" มอม้า นี่ก็แสดงให้ท่านผู้อ่านได้แลเห็นว่า ท่านสมเด็จโตเป็นอัจฉริยะบุคคลที่มีใช่บุคคลธรรมดา เก่งด้วยวิปัสสนากรรมฐาน รู้อดีต รู้ปัจจุบัน และรู้อนาคต ยังมีอีกหลายต่อหลายบทตอน ที่จะหยิบยกเอามาพูดกันให้รู้ทีละตอน ๆ
            มีคราวหนึ่ง ท่านสมเด็จโตได้สร้างพระสมเด็จขึ้นมาพิมพ์หนึ่ง โดยผีมือช่างหลวงช่วยแกะพิมพ์ให้ พอสร้างเสร็จปลุกเสกเสร็จท่านโตก็ได้ให้พระสมเด็จทรงพิมพ์นี้ ให้ ร.5 ติดตังไป ท่าน ร.5 ได้นำพระสมเด็จที่สมเด็จโตสร้างติดตัวไปประเทศเยอรมันพอถึงเยอรมัน กษัตริย์เยอรมันพบ ร.5 เข้าก็แปลกใจ แลเห็นที่หน้าอกของ ร.5 มีแสงสว่างประกายออกมา จึงกราบเรียนถาม ร.5 ว่า ในตัวมีอะไร ร.5 ก็นึกขึ้นมาได้ว่า มีพระสมเด็จองค์หนึ่งที่ท่านโตให้ติดตัวมา จึงถวายให้กับกษัตริย์เยอรมันไป จึงเรียกสมเด็จทรงพิมพ์นี้ว่า ทรงพิมพ์ไกเซอร์
            ท่านผู้อ่านที่เคารพยิ่ง ตามประวัติต่างๆ ที่ผู้เขียนได้หยิบยกขึ้นมาเขียนกล่าว บางครั้งอาจจะคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงไปบ้าง เขียนถูกบ้างผิดบ้าง ขอได้โปรดอภัยแต่เจตนารมณ์ของผู้เขียนมุ่งที่จะจรรโลงไว้ซึ่งศาสนาให้เจริญสูงส่ง รวมทั้งสถาบันกษัตริย์และประการสุดท่านก็คือส่งเสริมคุณค่าและความดีเกียรติคุณยกเบขิดให้ท่านสมเด็จโตมิได้มุ่งทำลาย อดุมการณ์ของผู้เขียนมีอย่างนี้จึงได้เพียรพยายามทุกวิถึทางที่จะให้หนังสือเล่มนี้ได้สำเร็จขี้นมาด้วยความเพียรและขอบรารมีพรจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ใฟ้ดลบังดาลเดิดผลคุณค่าทางปัญญา ส่งผลออกมาทางลายลักษณ์อักษร ให้ท่านได้ดูอ่านชมกัน เพื่อให้ได้มาซึ่งสมบูรณ์แบบครบด้วนอาจจะขาดเหลือไปก็เพียงเล็กน้อย ผลอันนี้มุ่งหวังให้ท่านผู้อ่านทั้งประเทศหรือต่างประเทศได้รู้ถึงคุณค่าของพระพุทธศาสนาไทยเรา และรู้คุณค่าของประวัติความดีของสมเด็จโต ตลอดจนพระสมเด็จที่ท่านสมเด็จโตได้สร้างขึ้น
            สุดท้ายนี้ ผลงานความดีทั้งหลายแหล่ที่ได้จากากรจัดทำนั้น ผู้เขียนขอน้อมเกล้าถวายยกให้พระพุทธเจ้า พระธรรม และพระอรหันต์ ตลอดจนสมเด็จโต รวมถึงสิ่งศักดิ์สิทธ์ทั้งหลายในสากลโลกทั้งหมด ไม่ว่าชาติใด ภาษาใด และศาสนาใด ๆ จงได้รับผลอานิสงค์บุญจากการจัดทำหนังสือเล่มนี้ไปด้วยเทอญ ความบกพร่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ผู้เขียนขอน้อมรับไว้แต่เพียงผู้เดียว
tample11.jpg (6808 bytes)
ว่าด้วยอภินิหาร
เจ้าประคุณสมเด็จ ฯ ได้ศึกษาเชี่ยวชาญทั้งในทางคันถธุระและวิปัสสนาธุระดังกล่าวมา นับว่าท่านเป็นอัจฉริยะบุรุษผู้หนึ่งที่หาได้ยากในโลก" (ด้วยปรากฎว่ามีแต่ผู้ชำนาญเฉพาะธุระเดียวที่ชำนาญทั้งสองธุระนั้นหายาก) เห็นจะเป็นเราพะท่านเชี่ยวชาญในสองธุระประกอบกันจึงเดิดเสียงเลื่องลือกันว่า ท่านทรงคุณในวิทยาคุณานุภาพศักดิ์สิทธ์ว่านี้มาต์หรือเครือ่งวิทยาคมของท่าน มีคุณานุภาพศักดิ์สิทธิ์คือแก้โคกต่าง ๆ ค้อมกันสรรพภัย ค้าขายดี ทางเมตตามหานิยมก็ว่าดีนัก อนึ่งว่ากันว่า ท่านทรางคุณวิเศษถึงสามารถทำสิ่งซึ่งเหลือวิสัยมนุษย์สามัญให้สำเร็จได้ อาทิเช่น ทำให้ คลื่นลมสงบ ห้ามฝน ย่นหนทางฯ ดังจะยกมาสาธกเป็นอุทาหรณ์ต่อไป ในรัชกาลที่ 4 โปรดฯ ให้สร้างพระราชวัง พระที่นั่ง และพระเจดีย์วิหารที่บนเขามหาสมณะ จังหวัดเพชรบุรีพระราชทานนามเรียกรวมกันว่า "พระนครคิรี" (และเขามหาสมณะนี้นพระราชทานนามใหม่ว่าเขามไหศวรรย์) ในจดหมายเกตุของหมอบรัดเล (พิมพ์ไว้ในประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 120หน้า 52) ว่า โปรดฯ ให้เฉลิมพระราชมณเฑียรที่พระนครคีรี พร้อมกับบรรจุพระบรมธาตุในพระเจดีย์ศิลา เมือเดือนพฤษภาคม ปีจอ พ.ศ.2405 ดังนี้ กล่าวกันว่า เจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้ไปในงานพระราชพิธินั้เนด้วยขากลับท่านออกเรือจากปากอ่าวบ้านแหลมจะข้ามมาอ่าวแม่แลอง เวลานั้นคลื่นลมจัดมาก ชาวบ้านห้ามท่านก็ไม่ฟัง ว่าท่านได้ออกมายืนที่หน้าเก๋งเรือโบกมือไปมา ไม่ช้าคลื่นลมก็สงบราบคาบ
            คราวหนึ่งมีการก่อพระเจดีย์ทรายที่ในวัดระฆัง ประจวบกับวันนั้นมีเมฆฝนตั้งมืดคลึ้ม คนทั้งหลายเกรงฝนตก จึงไปกราบเรียนปรารภกับเจ้าประคุณสมเด็จ ฯ ท่านได้กล่าวพร้อมกับโบกมือว่า "ตกที่อื่น ๆ" ว่าน่าประหลาดที่ในวันนั้นปรากูฎว่าฝนไปตกที่อื่นหาได้ตกที่ในตำบลศิริราชพยาบาลไม่
            คราวหนึ่งเขานิมนต์เจ้าประคุณสมเด็จฯ ไปในงานพิธีโกนจุกที่จังหวัดอ่างทอง ท่านได้เริ่มออกเดินทางก่อนถึงกำหนดเวลาเพียง 3 ชั่วโมง มีผู้สงสัยว่าท่านจะไปทันเวลากำหนดได้อย่างไร ถึงกับได้สอบถามไปยังเจ้าภาพในภายหลังต่อมา ก็ไดรับคำตอบว่าท่านไปทันเวลาตามฎีกาทุกประการ (ว่าวิชานี้ท่านได้เรียนต่อพระอาจารย์แสง ที่จังหวัดลพบุรี)
            คราวหนึ่งเจ้าประคุณสมเด็จฯ ไปธุระทางแขวงจังหวัดนนทบุรีด้วยเรือแจง ขอกลับพอมาถึงปากคลองสามเสน เด็กศิษย์คนหนึ่ง ได้เอากะโหลกออกไปตักน้ำ จะเนื่องด้วยเหตุใดไม่ปรากฏ กะโหลกนั้นได้พลัดหลุดจากมือจมลงไปในแม่น้ำ ท่านพูดว่า "งมที่นี้ไม่ได้เพราะน้ำลึก ต้องไปงมที่หน้าวัดระฆังจึงจะได้" เมื่อถึงวัดระฆังท่านจึงให้เด็กศิษย์นั้นลงไปงมทื่หน้าวัด ก็ได้กะโหลกลมจริงดังที่ท่านบอก
            กล่าวกันว่า เจ้าประคุณสมเด็จฯ ไม่มีเงินติดตัว เพราะท่านเป็นผู้มีอัธยาศัยมักน้อยไม่เก็บสะสม (ดังเล่ามาแล้วในที่อื่น) แต่น่าประหลาดที่ท่านสามารถสร้าง ปูชนียวัตถุสถานใหญ่ ๆ โต ๆ สำเร็จหลายแห่ง (บางแห่งสร้างค้างไว้ เช่นพระโตวัดอินทรวิหารว่าท่านประสงค์จะให้ผู้อื่นสร้างต่อบ้าง) มีผู้ได้พยายามสังเกตกันนักหนาแล้วแต่ก็ไม่ทราบว่าท่านเอาเงินมาแต่ไหน พระเทพราชแสนยาว่าควาวหนึ่งจึนช่างปูนไปขอเงินค่าจ้างก่อสร้างจากเจ้าประคุณสมเด็จ ฯ 1 ชั่ง (80 บาท) ท่านบอกให้หลวงวิชิตรณชัยหลายชาย ไปเอาเงินที่ใต้ที่นอนของท่าน หลวงวิชิต ฯ กลับมากราบเรียนว่า ได้ไปค้นหาดูแล้วไม่เห็นมีเงินอยู่เลย ท่านสั่งให้ไปค้นหาใหม่ ก็ได้เงิน 1 ชั่ง เรื่องนี้หลวงวิชิต ฯ ว่าน่าประหลาดนักหนา
            มีสิ่งหนึ่ง ที่เจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้ทำไว้ที่วัดระฆัง คือน้ำมนต์ จะเขียนแทรกลงไว้ตรงนี้ มีคำเล่ากันว่า เจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้ปลุกเสกลงเลขยันต์ศิลา 3 ก้อน ก้อนหนึ่ง เอาไปไว้ที่ในสระหลังวัด (สระนี้ตื้นเขินนานแล้ว) ก้อนหนึ่งเอาไว้ในสระกลางน้ำ (สระนี้ยังมีปราฏอยู่) อีกก้อนหนึ่งเอาไว้ในแม่น้ำตรงหน้าวัด (ห่างเขื่อนราว 2 วา ประมาณว่าอยูตรงกลางโป๊ะท่าเรือ) ว่าน้ำในที่ทั้งสามแห่งนั้น มีคุณานุภาพศักดิ์สิทธิ์ต่างกัน คือน้ำที่สระหลังวัด อยูคงกระพันชาตรี น้ำที่สระกลางวัด ทางเมตตามหานิยม น้ำที่หน้าวัดทำให้เสียงไพเราะ (เหมาะกับนักร้อง) และว่าเมื่อจะตักน้ำที่หน้าวัดน้ำให้ตักตามน้ำ (ห้ามตักทวนน้ำ) ถ้าน้ำนิ่งให้ตักตรงไป
            อภินิหารของเจ้าประคุณสมเด็จ ฯ นับถือกันสืบมา จนเมื่อท่านถึงมรณภาพแล้ว ดังปรากฎว่ามีผู้คนไปบนบานปิดทองที่รูปหล่อของท่านเนือง ๆ (อธิบายเรื่องรูปหล่อของเจ้าประคุณสมเด็จฯ จะปรากฎต่อไปในที่อื่นข้างหน้า) ว่ากันว่าเพียงแต่ตั้งจิตระลึกถึงท่าน ก็ยังให้เกิดประสิทธิผลอย่างน่ามหัศจรรย์ จะยกมาอ้างเป็นอุทาหรณ์ ดังเช่นเจ้าคุณธรรมกิติ (ลมูล สุตาคโม ป.6) วัดระฆังกลับไม่ทันรถไฟ ต้องเดินมาลงเรือเมล์โดยสารที่ท่าเรือ พอย่างเข้าชานสถานีเรือ มีชายคนหนี่ง ในเครื่องแต่งกายชุดดำ เดินออกจากที่กำบังตรงเข้ามาขวางทาง (สังเกตไม่ได้ว่าจะมีอาวุธหรือไม่ เพราะเป็นเวลามืด) ถามว่า "ท่านจะไปไหน" ตอบว่า จะไปหาเจ้าประคุณสมเด็จฯ ขอให้ช่วยคุมภัย ท่านว่า แล้วชายคนนั้นก็ออกเดินหลีกทางไปโดยไม่ได้พูดอะไร และว่าอีกคราวหนึ่ง (ดูเหมือนจะเป็น พ.ศ.2485) ท่านไปเทศน์ที่วัดอินทาราม แขวงจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ให้เรือจ้างส่งที่แพหน้าวัดสุวรรณเจดีย์ (ตำบลหัวเวียง) ด้วยหมายจะขึ้นไปพักวัดนั้นก่อน แต่ขึ้นวัดไม่ได้เพราะน้ำท่วม เวลานั้นดึกมาก ผู้คนนอนหลับกันหมดแล้ว ทั้งฝนก็ตกพรำ ๆ ท่านมิรู้จะทำอย่างหร เลยนั้นพักอยู่บนตุ่มปูนที่ข้างแพนั้น สักครู่หนึ่งมีชาย 2 คน พายเรือทวนนี้ขึ้นไปทางเหนือ ท่านจึงเอาไฟฉายส่องที่ตังท่านเอให้รู้ว่าเป็นพระ พร้อมกับร้องเรียนให้ช่วยรับส่งขึ้นที่วัด ชาย 2 คนนั้นจะได้ยินหรือไม่ไม่ทราบ แต่หาได้นำพาต่อคำขอร้องของท่านไม่ คงเร่งพายเรือต่อไป ท่านจึงตั้งจิตระลึกถึงเจ้าประคุณสมเด็จฯ ว่า เวลานี้ลูกลำบาก ขอให้หลวงพ่อช่วยลูกด้วย ท่านว่า น่าประหลาดที่ต่อมาสัก 4-5 นาที ชาย 2 คนนั้นได้พายเรือมารับท่าน ส่งขึ้นวัดสุวรรณเจดีย์ตามประสงค์ พระอาจารย์ขวัญวิสิฎโฐ เล่าเรื่องหนึ่งว่า คราวหนึ่ง มีงานฉลองสุพรรณบัฎสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ม.ร.ว.เจริญ อิศรางกูร ณ อยุธยา) ที่วัดระฆังในงานนั้นมีอาจารย์มาประชุมกันหลายรูป พอตกบ่ายฝนตั้งเค้ามือครึ้ม เสมียน (ตรา) เหมือน บ้านหลังตลาดบ้านขมิ้น จังหวัดธนบุรี ผู้ซึ่งมีความเคารพในเจ้าประคุณสมเด็จฯ มาก ได้กล่าวขึ้นในที่ประชุม ว่าท่านผู้ใดจะสามารถห้ามไม่ให้ฝนตกไดั ที่ประชุมต่างนิ่งไม่มีใครว่าขานอย่างไร เสมือนเหมือนกล่าวต่อไปว่า (สมเด็จโตถึงจะห้ามฝนได้" ดังนี้ แล้วผินหน้าไปทางรูปหลบ่อเจ้าประคุณสมเด็จฯ จะธูปเทียนบุชาสักการะตั้งสัตยาธิศฐานขออย่าให้ฝนตกที่วัด ว่าวันนั้นฝนตกเพียงแค่โรงหล่อ หกตกถึงที่วัดระฆังไม่ คนทั้งหลายต่างเห็นอัศจรรย์ยิ่งนัก นอกจากนี้ยังมีเรื่องราวเล่ากันอึกมากมายหลายเรื่อง ทีนี้จะพรรณาว่าด้วยอภินิหาร   พระพุทธรูปที่เจ้าประคุณสมเด็จฯ สร้างต่อไป จะกล่าวงถึงพระโตก่อน อันพระโต (หรือเรียกกันว่า "หลวงพ่อโต") ที่เจ้าประคุณสมเด็จฯ สร้างไว้นี้ ดูเหมือนจะมีอภินิหารศักดิ์สิทธิ์ทั้งนั้น ข้อนี้จะพึงสังเกตุเห็นได้ ด้วยมีประชาชนไปปิดทองบนบานศาลกล่าวและเซียมซีเสี่ยงทายกันเนือง ๆ บางแห่งถึงจัดให้มีงานประจำปี มีพุทธศาสนิกชนจากแหล่งต่าง ๆ ทั่วประเทศมาชุมนุมกันในคราวหนึ่ง ๆ นักแสน ว่าเฉพาะพระโตวัดไชโยปรากฎในหนังสือ "ลิลิตพายัพ" พระราชนิพนธ์
            ในรัชกาลที่6 ว่าเมื่อปีมะเส็ง พ.ศ.2448 พระบาทสมเด็จ ฯ พระมงกุฎกล้าเจ้าอยู่หัว แต่ยังดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เสด็จประพาสหัวเมืองมณฑลพายัพ ขากลับกรุงเทพฯ เสด็จทางชลมารคถึงวัดไชโจได้เสด็จขึ้นนมัสการ ดังที่ทรงพระราชนิพนธ์เป็นโคลงไว้ดังนี้
ถึงไชโยหยุดยั้ง         นาวา
พระเสด็จขี้นอุรา      วาสนั้น
นมัสการปฏิมา          กรเกตุ
คุณพระฉัตรกั้น         เกศข้า      ทั้งปวง

            ในที่นี้จะกล่าวถึงอภินิหารพระโตวัดอินทรวิหาร เป็นนิทัศนุทาหรณ์ พระโตองค็นี้เป็นพระพุทธรูปที่ศักดิ์สิทธิ์มาก ว่าสามารถคุ้มกันสรรพภัยพิบัติและให้เกิดสุขสวัสดิ์ ลาภผลอย่างมหัสจรรย์ ดังพรรณนาไว้ในเรื่องประวัติ พิมพ์เมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ.2490 คัดมาลงไว้ต่อไปนี้
            อภินิหารของหลวงพ่อโตศักดิ์สิทธ์มาก ดังเป็นที่ประจักษ์อยู่แล้วโดยทั่วกัน สักขีพยานซึ่งได้เห็นกันอยู่ในเร็วๆ นี้ ในระหว่างที่บ้านเมืองกำลังอยู่ในระหว่างสงคราม (พ.ศ.2484-2487) หลวงพ่อโตหาได้กระทบเทือนอย่างใดไม่ คงอยู่เป็นมิ่งขวัญ เป็นที่สักการะของชาวเราอยู่ตลอดไป ได้มีผู้กล่าวสรรเสริญถึงอภินิหารความศักดิ์สิทธิ์ของท่านอยู่เสมอมิได้ขาด ในยามสงครามประชาชนในเขตอื่น ๆ อพยพกันเป็นจ้าระหวั่น แต่ในบริเวณเขตหลวงพ่อโต มิใคร่จะมีใครอพยพกัน ซึ่งมีบางท่านกล่าวว่า จะไม่ยอมไปไกลจากองค์หลวงพ่อโตเป็นอันขาด แต่มีบางท่านจะต้องอพยพ ได้ไปลาสมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสสเทว) วัดสุทัศน์ มีรับสั่งว่าอย่าไปเลย ในบริเวณวัดอินทรวิหารเหมาะและปลอดภัยแล้ว เพราะหลวงพ่อโตท่านก็คุ้มครองอยู่ คงจะปัดเป่าภยันตรายไปได้และสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ท่านเป็นผู้สร้างได้ทำไว้ดีแล้ว ประชาชนส่วนมากในวัดอินทรวิหารจึงไม่ใคร่อพยพจากไป นอกจากนั้นเมื่อมีภัยทางอากาศเกิดขึ้นในคราวใด ประชาชน ในเขตอื่น ๆ ยังพลอยหลบภัยเข้ามาอาศัยอยู่ในบริเวณหลวงพ่อโตเป็นจำนวนมาก ปรากฎว่ามีเครื่องบินมาทิ้งลูกระเบิดที่บริเวณวัดอินทรวิหารเหมือนกัน เป็นลูกระเบิดเพลิงรวมด้วยกัน 11 ลูกแต่ไม่ระเบิด และไม่เกิดเพลิงอย่างใด ในครั้งต่อมาได้มีเครื่องบินมาทึ้งระเบิดที่ตำบลเทเวศร์โอยเฉพาะองค์หลวงพ่อโตวัดอินทรวิหารใกล้กับจุดอันตรายมากแต่หาเป็นอันตรายแม้แต่น้อยไม่ ซึ่งประชาชนส่วนมากที่หลบภัยเข้ามาในบริเวณหน้าหลวงพ่อโตมองเห็นฝูงเครื่องบินมาทิ้งระเบิดบ่ายโฉมหน้ามุ่งตรงมายังหลวงพ่อโต ครั้นมาถึงในระยะใกล้เครื่องบินฝูงนั้นกลับวกมุ่งไปทางทิศอื่นเสีย ซึ่งดูประหนึ่งหลวงพ่อโตท่านโบกหัตถ์ให้ไปทางทิศอื่นเสีย ประชาชนและบ้านเรือนในเขตบริเวณหน้าหลวงพ่อโตวัดอินทรวิหารจึงหาเป็นอันตรายแต่ประการใดไม่
            เรื่องที่กล่าวมานี้ นับว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธ์อยู่มิใช้น้อย นี้ก็แสดงให้เห็นอยู่แล้วว้า หลวงพ่อโตวัดอินทรวิหารท่านมีอภินิหารความศักดิ์สิทธ์มากเพียงใด จนกระทั่งในทุกวันนี้ประชาชนก็พากันมานมัสการสักการะบูชามิได้ขาด ชาวต่างประเทศที่เดินทางเข้ามาชมพระนคร ก็ยังเลยมานมัสการหลวงพ่อโตเสมด
            "ตามปกติประชาชนนิยมน้ำมนต์ของท่านมาก มีผู้มาขอน้ำมนต์ของท่านไม่เว้นแต่ละวัน น้ำมนต์ของทานเมื่ออธิษฐานแล้วใช้ได้ตามความปรารถนา เป็นมหานิยมดีด้วย เวลาที่จะไปหาผู้ใดผู้นั้นก็มีความเมตตากรุณา ก่อนที่จะใช้น้ำมนต์ของท่านให้ได้สมความปรารถนาแล้ว ควรจะทราบวิธีใช้ด้วย คือเมือ่ผู้ใดจะเอาน้ำมนต์ของหลวงพ่อไปใช้ควรหาเครื่องสักการะบูชาเช่นธูปเทสียนดอกไม้บูชาเสียก่อนแล้วตั้งจิตให้แน่วแน่น้อมระลึกถึงองค์หลวงพ่อโตตลอดจนสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ผู้สร้างให้ช่วยตามความปรารถนาแล้วนำน้ำมนต์ไปให้รับประทานและอาบตามความประสงค์ ผู้นั้นจะประสบแต่โชคชัย เคราะห์ร้ายก็อาจจะกลับกลายเป็นดีได้ ด้วยประการฉะนี้"

            พระพิมพ์ของเจ้าประคุณสมเด็จฯ หรือเรียกกันตามสะดวกปากว่า "สมเด็จ" นั้น ได้กล่าวมาแล้วว่าเจ้าประคุณสมเด็จได้สร้างขึ้นไว้ด้วยมุ่งหมายจะให้เป็นการสืบต่ออายุพระศาสนาเป็นข้อสำคัญ แต่น่าประหลาดอยู่ ที่คนทั้งหลายต่างนับถือพรสมเด็จเป็นเครื่องรางที่ทรงคุณานุภาพเป็นอย่างวิเศษ ว่าในบรรดาพระเครื่องราง พระสมเด็จเด่นอยู่ในความนิยมของสังคมในทุกยุคทุกสมัยและว่าจะหาซื้อได้ด้วยเงินตราในราคาแพงมาก อันเรื่องเกี่ยวกับอภินิหารพระสมเด็จนั้น ได้ฟังเล่ากันมากมายหลายเรื่อง จะเขียนลงไว้แต่เฉพาะบางเรื่อง ดังต่อไปนี้

budhja.jpg (33176 bytes)
            กล่าวกันว่า ภายหลังแต่เจ้าประคุณสมเด็จฯ ถึงมรณภาพ พระสมเด็จที่ใส่บาตร สัด และกระบุงตั้งไว้ที่หอสวดมนต์นั้น ได้ขนย้ายเอาไปไว้ที่ในพระวิหารวัดระฆัง (ว่าเอาไว้ที่บนเพดานพระวิหารก็มี) โดยมิได้มีการพิทักษ์รักษากันอย่างไร เป็นต้นว่าประตูวิหารก็ไม่ได้ใส่กุญแจ ในปีหนึ่งเป็นเทศกาลตรุษสงกรานต์ มีทหารเรือหลายคนมาเล่นการพนันที่หน้าวัด เช่นหยอดหลุม ทอยกอง เป็นต้น จะเนื่องด้วยเหตุใดไม่ปรากฏ ทหารเรือเหล่านั้นได้เกิดวิวาทถึงชกต่อยตีรันกันเป็นโกลาหล ทหารเรือคนหนึ่งได้เข้าไปเอาพระสมเด็จใสพระวิหารมาอมไว้องค์หนึ่ง แล้วกลับมาชกต่อยตีรันประหัตประหารกันต่อไปที่สุดปรากฎว่าทหารเรือคนนี้นไม่ได้รับบาดเจ็บอย่างไร แม้รอยฟกช้ำก็ไม่มี ส่วนทหารเรือคนอื่น ๆ ต่างได้รับบาดเจ็บ ที่ร่างกายมีบาดแผลมากบ้างน้อยบ้างทุกคน อีกเรื่องหนึ่งว่า คราวหนึ่งมีชายคนหนึ่งอยู่บ้านตำบลไชโย จังหวัดอ่างทอง ป่วยเป็นโรคอหิวาต์ คือวันหนึ่งฝันว่า เจ้าประคุณสมเด็จฯมาบอกว่า "ยังไม่ตายให้ไปเอาพระสมเด็จที่บนเพดานพระวิหารวัดระฆังมาทำน้ำมนต์กินเถิด" พวกญาติได้พยายามแจวเรือกันมาเอาพระสมเด็จไปอธิษฐานทำน้ำมนต์ให้กิน ก็หายจากโรคนั้น ทั้ง2 เรื่องที่เล่ามานี้ ว่าเป็นมูลให้เกิดคำเล่าลือถึงอภินิหารพระสมเด็จเป็นประถม
            พระอาจารย์ขวัญ วิสิฎโฐ เล่าว่า มาหญิงคนหนึ่ง ชื่อจัน ภูมิลำเนาเดิมอยู่จังหวัดอ่างทอง คุ้นเคยสนิทสนมกับเจ้าประคุณสมเด็จฯ แต่ยังเยาว์วัย ต่อมานางจันได้ย้ายมาประกอบอาชิพตั้งร้านค้าอยู่ทางแขวงจังหวัดนนทบุรี ภายหลังยากจนลงเพราะการค้าขาดทุนนางจันได้ยินกิตติศัพท์เลื่องลือถึงคุณวิเศษของเจ้าประคุณสมเด็จฯ วันหนึ่งจึงเข้าไปหาท่าน สนทนากันในตอนหนึ่ง นางจันกล่าวว่า "เวลานี้ดิฉันยากจนมาก" ท่านว่า "มาที่นี่ไม่จนหรอกแม่จัน" แล้วท่านหยิบพระประจำวันให้นางจันองค์หนึ่ง (จะเป็นพระประจำวันอะไรหาทราบไม่) บอกให้อาราธนาทำน้ำมนต์อธิษฐานตามปรารถนา และว่า "ถ้าแม่จันควยแล้วอย่ามาหาฉันอีกนะจ๊ะ" นางจันกราบเรียนถามว่า "เป็นยังไงล่ะเจ้าคะ?" ท่านตอบว่า "ฉันไม่ชอบคนรวย ฉันชอบคนจนจ้ะ" ว่านางจันได้พระมาแล้วทำตามที่ท่านบอก แต่นั้นการค้าก็เจริญขี้นโดยลำดับ ที่สุดนางจันก็ตั้งตัวได้เป็นหลักฐานผู้หนึ่งในถิ่นนั้น นางจันทีอายุอ่อนกว่าเจ้าประคุณสมเด็จฯ เรียกเจ้าประคุณสมเด็จฯ ว่า "หลวงพี่" มีคนถามนางจันว่า "รวยแล้วทำไมจึงไม่ไปหาสมเด็จฯ อีกเล่า" นางจันตอบว่า "เพราะหลวงพี่โตสั่งไว้ว่า ถ้ารวยแล้วห้ามไม่ให้ไปหา หลวงพี่โตนี่แหละศักดิ์สิทธิ์นัก พูดคำไหนต้องเป็นคำนั้น"
            ร้อยเอกหลวงวิจารณ์พลฉกรรจ์ (แสวง ผลวัฒนะ) สัสดีจังหวัดกาญจนบุรี ว่า คราวหนึ่งไปราชการทหารที่ตำบลพนมทวนในจังหวัดนั้น กถูกคนร้ายลอบยิงหลายนัด แต่ไม่เป็นอันตราย ว่าเพราะมีพระสมเด็จที่บิดา ( นาย อาญาราช อิ่ม ซึ่งเมื่อบวชเป็นต้นกุฏิเจ้าประคุณสมเด็จฯ ให้ไว้)
            นายเปลื้อง แจ่มใส ว่าเมื่อยังรับราชการในกรมรถไฟ แผนกช่างเวลานั้นอายุราว 25 ปี คราวหนึ่งได้ขึ้นไปตรวจทางรถไฟสายเหนือซึ่งเพิ่งสร้างเสร็จขณะยืนตรวจการอยู่ท้ายรถถึงที่แห่งหนึ่ง (ตำบลบ้านแม่ปิน จังหวัดแพร่) รถแล่นเข้าโค้ง พอนายเปลื้องประมาทตัวนายเปลื้องได้พลัดตกจากรถลงไปนอนอยู่ข้างทาง (เวลาตกนั้นรู้สึกตัวเบามาก) แต่ไม่ได้รับบาดเจ็บอย่างใด เป็นเพียงเท้าขัดยอกบ้างเล็กน้อยเท่านั้น นายเปลื้องว่าที่ตัวไม่มีอะไรนอกจากพระสมเด็จ จึงเชื่อมั่นว่าที่ไม่เป็นอันตรายนั้นเป็นเพราะอานุภาพพระสมเด็จแน่นอน
            พระอาหรภัตรพิสิฐ (เล็ก อุณหนันท์) เล่าหลายเรื่อง เรื่องหนึ่งว่า คราวหนึ่งหญิงลูกจ้างคนหนึ่งชื่อรูป เกิดโรคท้องเดินจงตัวซีด (เข้าใจว่าเป็นโรคอหิวาต์) ในเวลานั้นดึกมากราว 1.00 น. ไม่ทราบว่าจะไปหายาที่ไหน นึกขึ้นถึงพระสมเด็จที่มีอยู่ (เป็นพระชนิดปรกโพธิ์ใบ) คุณพระจึงอาราธนาทำน้ำมนต์ให้กินบ้าน เอาตบศีรษะบ้าง สักครู่หนึ่งก็นอนหลับ เมื่อตื่นขึ้นหญิงนั้นบอกว่า ได้ฝันว่า มีพระสงฆ์แก่องค์หนึ่งมาบอกว่า "ยังไม่ตาย" ว่าได้กินน้ำมนต์นั้นเรื่อย ๆ มา จนอาการโรคคลายหายเป้ปกติดี เรื่องหนึ่งว่าเมื่อภรรยาจะคลอดบุตรคนสุดท้อง เจ็บครรภ์อยู่จนถึง 3 วันก็ยังไม่คลอด คุรพระจึงจะธูปเทียนบูชาสักการะ อาราธนาพระสมเด็จลงแช่ในน้ำ ตั้งจิตอธิษฐานตามประสงค์ แล้วเอาน้ำนั้นให้กินบ้าง ตบศีรษะบ้าง ว่าไม่ช้านักก็คลอดอย่างง่ายตาย เรื่องหนึ่งว่า แขกที่พาหุรัดคนหนึ่ง ซึ่งชอบพอคุ้นเคยกับคุณพระบอกว่า ที่เขาได้ภรรยา 3 คนที่อยู่ด้วยกันในเวลานี้นั้น เพราะเขาเอาพระสมเด็จฝนให้กินทุกคน (ว่าพระนั้นเป็นพระสมเด็จกรุวัดใหม่บางขุนพรหม) อีกเรื่องหนึ่งว่า พระสมเด็จงูไม่ข้าม คราวหนึ่งมีงูเลื้อยมา คุณพระได้เอาพระเครื่องเหล่านั้น ทำดังนี้หลายครั้ง ปรากฏว่างูมิได้เลื่อยข้ามพระสมเด็จ แม้แต่เลื้อยเข้ามาใกล้ก็ไม่มี ส่วนพระเครื่องชนิดอื่น ๆ งูได้เลื้อยข้ามบ้าง เลื้อยเฉียดไปบ้าง คุณพระอาทรฯ เล่าต่อไปว่า ตัวคุณพระเองได้เคยฝ่าอันตรายมาหลายครั้ง แต่ก็ปลอดภัยทุกคราว และว่าน่าประหลาดอย่างหนึ่ง ที่คนกำลังทะเลาะวิวาทถึงจะทำร้ายกัน ถ้าเรามีพระสมเด็จอยู่กับตัวเข้าไปห้ามปราม คนเหล่านั้นจะเลิกทะเลาะต่างแยกย้ายกันไปทันที
            ได้ฟังเล่ากันอึกเรื่องหนึ่งเกี่ยวกับพระสมเด็จแก้โรคอหิวาต์ จะเขียนแทรกลงไว้ตรงนี้ เมื่อปีระกา พ.ศ.2416 เกิดโรคอหิวาต์(โรคป่วง) ครั้งใหญ่ ผู้คนล้มตายกันมาก กล่าวในจดหมายเหตุบัญชีน้ำฝนของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ (เล่ม3) ดังนี้
            "ระกาความไข้ คนตายนับได้ เกือบใกล้สี่พัน เบาน้อยกว่าเก่า หาเท่าลดกันมะโรงก่อนนั้น แสนหนึ่งบัญชี เขาจดหมายไว้ในสมุดปูนมีมากกว่าดังนี้เป็นไป
        (เดือน 8 ข้างขึ้น)
      เกิดไข้ในวัดม้วย         วันละคน
ตั้งแต่สองค่ำดล                 หกเว้น
ศิษย์พระวอดวายชนม์      ถึงสี่          เทียวนา
บางพวกไกลโรคเร้น         ชีพตั้ง       ยังเหลือ

     จบเสร็จเผด็จสิ้น          ปีระกา
โรคป่วงเกิดมีมา                 ทั่วดาน
น้ำน้อยไม่เข้านา               เสียมาก      เทียวแฮ
ในทุ่งรวงข้าวม้าน              ไค่กล้า       นาเสีย"

             กล่าวกันว่า ในคราวนั้นสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ทรงพระราชทานแจกสมเด็จ (ชนิดปรกเมล็ดโพธิ์ ที่เรียกกันว่า "สมเด็จเขียว") ว่าคนเป็นอันมากได้รอดตายเพราะพระสมเด็จนั้น จึงเกิดกิตติศัพท์เลื่องลือกันแพร่หลายสืบมา

ประวัติ อำเภออัมพวา




 
        อัมพวา ด้วยเหตุที่อำเภออัมพวาเป็นสถานที่สำคัญ และเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยาถึงต้นกรุงรัตนโกสินทร์อยู่มาก สมัยก่อนเรียกกันว่า "แขวงบางช้าง" เป็นชุมชนเล็ก ๆ ที่มีความเจริญทั้งในด้านการเกษตร และการพาณิชย์ มีหลักฐานเชื่อได้ว่า ในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททองนั้น แขวงบางช้างมีตลาดค้าขายเรียกว่า "ตลาดบางช้าง" นายตลาดเป็นหญิงชื่อน้อย มีบรรดาศักดิ์เป็นท้าวแก้วผลึก นายตลาดผู้นี้อยู่ในตระกูลเศรษฐีบางช้างซึ่งต่อมาเป็นราชนิกุล "ณ บางช้าง"
เมื่อ พ.ศ. 2303 ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย รัชสมัยพระเจ้าเอกทัศน์ โปรดเกล้าฯ ให้นายทองด้วง (พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก) เป็นหลวงยกกระบัตร เมืองราชบุรี ซึ่งเป็นเมืองจัตวาขึ้นตรงต่อกรุงศรีอยุธยา ต่อมาหลวงยกกระบัตรได้แต่งงานกับคุณนาคบุตรีเศรษฐีบางช้าง และได้ย้ายบ้านไปอยู่หลังวัดจุฬามณี ต่อมาเมื่อไฟไหม้บ้านจึงได้ย้ายไปอยู่ที่หลังวัดอัมพวันเจติยาราม อีก 3 ปี
เมื่อ พ.ศ. 2310 พม่าตีกรุงศรีอยุธยาแตก หลวงยกกระบัตรจึงตัดสินใจอพยพครอบครัวเข้าไปอยู่ในป่าลึก ในระหว่างนี้ ท่านแก้ว (สมเด็จกรมพระศรีสุดารักษ์) พี่สาวของหลวงยกกระบัตร ได้คลอดบุตรหญิงคนหนึ่งตั้งชื่อว่า "บุญรอด" (ต่อมาได้เป็นสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี ในรัชกาลที่ 2) ครั้งเมื่อพระยาวชิรปราการได้รวบรวมกำลังขับไล่พม่าออกไปหมดแล้ว ได้สถาปนาขึ้นเป็นพระเจ้าตากสิน หลวงยกกระบัตรจึงได้อพยพครอบครัวกลับภูมิลำเนาเดิมในช่วงนี้เอง คุณนาคก็ได้คลอดบุตรคนที่ 4 เป็นชาย ชื่อฉิม (พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย) หลังจากนั้น หลวงยกกระบัตร ก็ได้กลับเข้ารับราชการอยู่กับพระเจ้าตากสิน ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระราชวรินทร์เจ้ากรมพระตำรวจนอกขวา จนกระทั่งเป็นสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก และปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ต้นราชวงศ์จักรี คุณนาค ภรรยาก็ได้รับสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระอมรินทรามาตย์ คุณสั้น มารดาคุณนาค ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระรูปศิริโสภาคมหานาคนารี
แต่เนื่องจากสมเด็จพระอมรินทรามาตย์ทรงเป็นคนพื้นบ้านบางช้างมาก่อน จึงมีพระประยูรญาติที่สนิท ประกอบอาชีพทำสวนต่าง ๆ อยู่ที่บางช้างนี้มาก เมื่อได้รับสถาปนาเป็น สมเด็จพระอมรินทรามาตย์จึงนับเป็นราชินิกุล บางช้าง พระประยูรญาติจึงเกี่ยวดองเป็นวงศ์บางช้างด้วย และสมเด็จพระอมรินทร์ฯ มักทรงเสด็จเยี่ยมพระประยูรญาติเสมอ จึงมีคำเรียกว่า "สวนนอก" คือ สวนบ้านนอก ที่เป็นของวงศ์ราชินิกุลบางช้าง ส่วนบางกอก ซึ่งเป็นส่วนของเจ้านายในราชวงศ์ก็เรียกว่า "สวนใน" มีคำกล่าวว่า "บางช้างสวนนอก บางกอกสวนใน" จนถึงสมัยรัชกาลที่ 4 จึงยกเลิกไป

คำขวัญจังหวัดสมุทรสงคราม: เมืองหอยหลอด  ยอดลิ้นจี่  มีอุทยาน ร 2  แม่กลองไหลผ่าน  นมัสการหลวงพ่อบ้านแหลม



ประวัติพันท้ายนรสิงห์

 พันท้ายนรสิงห์ เป็นนายท้ายเรือพระที่นั่งเอกไชยอยู่ในรัชสมัยสมเด็จพระสรรเพชญ์ ที่ ๘ (พระเจ้าเสือ)  ได้รับ ยกย่องว่าเป็นผู้มีความซื่อสัตย์สุจริต  จงรักภักดีและรักษาระเบียบวินัยยิ่งชีวิต 

  เรื่องราวของพันท้ายนรสิงห์ปรากฏ    อยู่ในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับต่างๆ  ได้กล่าวถึงเหตุการณ์ใน พ.ศ.๒๒๔๖ - ๒๒๕๒   สมเด็จพระสรรเพชญ์ ที่๘ ประพาสปากน้ำสาครบุรี (ปัจจุบันคือจังหวัดสมุทรสาคร) เพื่อทรงเบ็ด ด้วยเรือพระที่นั่งเอกไชย มีพันท้ายนรสิงห์เป็นนายท้าย พันท้ายนรสิงห์เป็นชาวบ้านนรสิงห์ แขวงเมืองอ่างทอง     การเสด็จประพาสปากน้ำสาครบุรีในครั้งนี้ เมื่อเรือพระที่นั่งไปถึงตำบลโคกขามคลองบริเวณดังกล่าวมีความคดเคี้ยวมาก พันท้ายนรสิงห์พยายามคัดท้ายเรือพระที่นั่งอย่างระมัดระวังแต่ไม่อาจหลบเลี่ยงอุบัติเหตุได้ หัวเรือพระที่นั่งชนกิ่งไม้ใหญ่หักตกลงไปในน้ำ

 พันท้ายนรสิงห์รู้โทษดีว่า ความผิดครั้งนี้ถึงประหารชีวิตตามโบราณราชประเพณี   ซึ่งกำหนดว่าถ้าผู้ใดถือท้ายเรือพระที่นั่งให้หัวเรือพระที่นั่งหัก   ผู้นั้นถึงมรณะโทษให้ตัดศีรษะเสียจึงกราบทูลพระกรุณาน้อมรับโทษตามพระราชประเพณี  สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๘ ทรงพิจารณาเห็นว่าอุบัติเหตุครั้งนี้เป็นการสุดวิสัยมิใช่ความประมาท จึงพระราชทานอภัยโทษให้ แต่พันท้ายนรสิงห์กราบบังคมยืนยันขอให้ตัดศรีษะตนเพื่อรักษาขนบธรรมเนียมในพระราชกำหนดกฎหมาย เป็นการป้องกันมิให้ผู้ใดครหาติเตียนพระเจ้าอยู่หัวได้ว่าทรงละเลยพระราชกำหนดของแผ่นดินและเพื่อมิให้เป็นเยี่ยงอย่างสืบไป พระองค์ทรงโปรดให้ฝีพายทั้งปวงปั้นมูลดินเป็นรูปพันท้ายนรสิงห์   แล้วให้ตัดศีรษะรูปดินนั้นเพื่อเป็นการทดแทนกัน แต่พันท้ายนรสิงห์ยังบังคมกราบทูลยืนยันขอให้ประหารตน 

  แม้สมเด็จพระสรรเพชญ์ ที่ ๘   จะทรงอาลัยรักน้ำใจพันท้ายนรสิงห์เพียงใดก็ทรงจำพระทัยปฎิบัติตามพระราชกำหนด ดำรัสสั่งให้เพชฌฆาตประหารพันท้ายนรสิงห์แล้วโปรดให้ตั้งศาลสูงประมาณเพียงตา นำศีรษะพันท้ายนรสิงห์กับหัวเรือพระที่นั่งเอกไชยซึ่งหักนั้น ขึ้นพลีกรรมไว้ด้วยกันบนศาล  แล้วทรงพระราชดำริว่าคลองโคกขามคดเคี้ยวนักไม่สะดวกต่อการเดินเรือ บางครั้งชาวเมืองต้องเดินเรืออ้อมเป็นที่ลำบากยิ่ง สมควรจะขุดลัดตัดตรง เมื่อขุดเสร็จจึงได้รับพระราชทานนามว่า "คลองสนามไชย" ต่อมาเปลี่ยนเป็น "คลองมหาชัย"ทั้งนี้เพื่อเป็นการรำลึกถึงพันท้ายนรสิงห์ข้าหลวงเดิมซึ่งเป็นคนซื่อสัตย์ มั่นคง ยอมเสียสละชีวิตโดยไม่ยอมเสียพระราชประเพณี  กรมศิลปากรได้ดำเนินการจัดสร้างศาลพันท้ายนรสิงห์ขึ้น อยู่ถัดจากศาลเก่าที่พังลงไม่มากนัก โดยกันอาณาบริเวณรอบๆ ศาลไว้

ประวัติเพลงชาติไทย



เพลงชาติไทยแบบที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้ถือเป็น เพลงชาติไทยลำดับที่ 7 ซึ่งประกาศใช้ในยุค จอมพล ป. พิบูลสงคราม โดย รัฐนิยมฉบับที่ 6 เมื่อ วันที่ 10 ธันวาคม 2482  ประพันธ์ทำนองโดย พระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยะกร) หรือชื่อเดิม ปีเตอร์ ไฟท์ (Peter Feit) ตั้งแต่ ปี 2475 ประพันธ์เนื้อร้องโดย พันเอกหลวงสารานุประพันธ์ (นวล ปาจิณพยัคฆ์)
ก่อนหน้านั้นมี เพลงชาติไทย ใช้มาแล้ว 6 เพลง เริ่มต้นระหว่าง ปี 2395 – 2414   ใช้ทำนองเพลง God Save the Queen ในการฝึกทหารของไทยสมัยนั้น ใช้แบบอย่างของประเทศอังกฤษ หมด ดังนั้นเพลง กอด เสฟเดอะควีน (God Save the Queen)จึงใช้เป็นเพลงเกียรติยศ ถวายความเคารพต่อพระ มหากษัตริย์ ใช้สำหรับกองทหารไทยในระหว่างปี พ.ศ. 2395 ถึง 2414  เรียกกันว่า "เพลงสรรเสริญพระบารมีอังกฤษ เป็นเพลงเกียรติยศถวายความเคารพ แด่องค์พระมหากษัตริย์โดยเรียกว่า เพลงสรรเสริญพระบารมีอังกฤษ แต่ต่อมาเมื่อ พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) ประพันธ์เนื้อร้องขึ้นใหม่แล้วเรียกชื่อว่า เพลงจอมราชจงเจริญ นั่นแหละจึงถือเป็น เพลงชาติลำดับที่ 1   “ความสุขสมบัติทั้งบริวาร เจริญพละ ปฏิภาณผ่องแผ้ว จงยืนพระชน...มาน นับรอบร้อย แฮ มีพระเกียรติเพริศแพร้ว เล่ห์ เพี้ยง จันทร”

       ในยุค รัชกาลที่ 5 เป็นต้นมา ในปี พ.ศ. 2414 พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาส เมืองสิงคโปร์ ในขณะนั้นสิงคโปร์ยังเป็นเมืองขึ้น ของประเทศอังกฤษอยู่ กองทหารดุริยางค์ สิงคโปร์ บรรเลงเพลงกอดเสฟเดอะควีน เพื่อถวายความเคารพ
       พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงตระหนักดีว่าประเทศมีความจำเป็น จะต้องมีเพลงชาติที่เป็นของตัวเองขึ้น เพื่อแสดงถึงความเป็นเอกราชของชาติครั้นเมื่อทรง เสด็จกลับถึงพระนคร จึงได้โปรดให้ตั้งคณะครูดนตรีไทยขึ้น เพื่อทรงปรึกษา หาเพลงชาต ิที่มีความเป็นไทย มาใช้แทนเพลงกอดเสฟเดอะควีน คณะครูดนตรีไทย ได้เลือก เพลงทรง พระสุบัน หรือเรียกอีกอย่างว่า เพลงบุหลันลอยเลื่อน ซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ของ พระบาทสม เด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 โดยนำมาเรียบเรียงใหม่ ให้มีความเป็น สากลขึ้น โดย เฮวุดเซน (Heutsen) นับเป็น เพลงชาติไทยฉบับที่สอง ใช้บรรเลงในระหว่างปี พ.ศ. 2414-2431
      เพลงชาติลำดับที่ 3 นั้นเกิดขึ้นในรัชสมัย รัชกาลที่ 5 เช่นกัน โดยประพันธ์ทำนองโดย นักประพันธ์ชาวรัสเซีย ปโยตร์ สชูโรฟสกี้ (Pyotr Schurovsky) คำร้องเป็นบทพระนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ใช้บรรเลงเป็นเพลงชาติในระหว่าง ปี 2431 – 2475 ใช้มายาวนานเพราะมี ท่วงทำนองไพเราะ เนื้อหาสมบูรณ์ และทุกวันนี้ก็ใช้อยู่ในนามของ เพลงสรรเสริญพระบารมี นั่นเอง
      เพลงชาติลำดับที่ 4 เกิดขึ้นภายหลังจากที่ประเทศไทยได้มีการเปลี่ยนการปกครอง จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตย (24 มิถุนายน 2475) แล้ว เพลงชาติลำดับนี้เป็นเพลงชาติชั่วคราว (เนื่องจากมีการเตรียมการโดยสังเขปที่จะสร้างเพลงชาติขึ้นมาใหม่ โดยสมาชิกของคณะผู้ก่อการท่านหนึ่งมอบหมายให้ พระเจนดุริยางค์ เป็น ผู้ประพันธ์ แต่ยัง ไม่เสร็จ เลยต้องใช้ทำนองเพลงไทยเดิม คือเพลงมหาชัย ไปพลางก่อน) เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) เสนาบดีกระทรวงธรรมการเป็นผู้ ประพันธ์เนื้อร้อง ซึ่งมีเนื้อหาปลุกใจให้คนไทยเกิดความรักชาติ และเกิดความสามัคคี ตลอดจนให้เลื่อมใสในรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีเนื้อร้องดังนี้

ประวัติกีฬาปิงปอง

ประวัติฟุตบอล

ฟุตบอล (Football) หรือซอคเก้อร์ (Soccer) เป็นกีฬาที่มีผู้สนใจที่จะชมการแข่งขันและเข้าร่วมเล่น
มากที่สุดในโลก
ชนชาติใดเป็นผู้กำเนิดกีฬาชนิดนี้อย่างแท้จริงนั้นไม่อาจจะยืนยันได้แน่นอน
เพราะแต่ละชนชาติต่างยืนยันว่าเกิดจากประเทศของตน แต่ในประเทศฝรั่งเศสและประเทศอิตาลี
ได้มีการละเล่นชนิดหนึ่งที่เรียกว่า "ซูเลอ" (Soule) หรือจิโอโค เดล คาซิโอ (Gioco Del Calcio)
มีลักษณะการเล่นที่คล้ายคลึงกับกีฬาฟุตบอลในปัจจุบัน
ทั้งสองประเทศอาจจะถกเถียงกันว่า
กีฬาฟุตบอลถือกำเนิดจากประเทศของตน
อันเป็นการหาข้อยุติไม่ได้ เพราะขาดหลักฐานยืนยันอย่างแท้จริง
ดังนั้น ประวัติของกีฬาฟุตบอลที่มีหลักฐานที่แท้จริงสามารถจะอ้างอิงได้ เพราะการเล่นที่ม
ีกติการการแข่งขันที่แน่นอน
คือประเทศอังกฤษเพราะประเทศอังกฤษตั้งสมาคมฟุตบอล
ในปี พ.ศ. 2406 และฟุตบอลอาชีพของอังกฤษเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2431
วิวัฒนาการด้านฟุตบอลจะเป็นไปพร้อมกับความเจริญก้าวหน้าของมนุษย์ตลอดมา ต้นกำเนิดกีฬาตะวันออกไกลจะได้รับอิทธิพลมาจากสงครามครั้งสำคัญๆ เช่น
สงครามพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ได้นำเอา "แกลโล-โรมัน" (Gello-Roman)
พร้อมกีฬาต่างๆ เข้ามาสู่เมืองกอล (Gaul) อันเป็นรากฐานส่วนหนึ่งของกีฬาฟุตบอลในอนาคต
และการเล่นฮาร์ปาสตัม (Harpastum) ได้ถูกดัดแปลงมาเป็นกีฬาซูเลอ

วิวัฒนาการของฟุตบอล
ภาคตะวันออกไกล
ขงจื้อได้กล่าวไว้ในหนังสือ "กังฟู" เกี่ยวกับกีฬา โดยเฉพาะอย่างยิ่งกีฬาที่ใช้เท้า
และศีรษะในสมัยจักรพรรดิ์ เซิงติ (Emperor Cneng Ti) (ปี 32 ก่อนคริสตกาล)
มีการเล่นกีฬาที่คล้ายกับฟุตบอลซึ่งเรียกว่า"ซือ-ซู" (Tsu-Chu) ซึ่งหมายถึงการเตะลูกหนังด้วยเท้า

กีฬาชนิดนี้ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง ซึ่งนักประพันธ์และนักประวัติศาสตร์ในสมัยนั้นได้ยกย่อง
ผู้เล่นที่มีชื่อเสียงให้เป็นวีรบุรุษของชาติ
และในสมัยเดียวกันได้มีการเล่นคล้ายฟุตบอลใน
ประเทศญี่ปุ่นอีกด้วย
ภาคตะวันออกกลาง
ในกรุงโรม ความเจริญของตะวันออกไกลได้แผ่ขยายถึงตะวันออกกลางโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากอิทธิพลของสงคราม
โดยพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช
การเล่นกีฬาชนิดหนึ่งเรียกว่า ฮาร์ปาสตัม เป็นกีฬาที่นิยมของชาวโรมัน
และชาวกรีกโบราณวิธีการเล่นคือ มีประตูคนละข้าง
แล้วเตะลูกบอลไปยังจุดหมายที่ต้องการ เช่น
จากหมู่บ้านหนึ่งไปอีกหมู่บ้านหนึ่ง
การเล่นจะเป็นการเตะ หรือการขว้างไปข้างหน้าฮาร์ปาสตัม
หมายถึงการเหวี่ยงไปข้างหน้า
การเล่นกีฬาฮาร์ปาสตัมในกรุงโรมดูเหมือนจะเป็นต้นกำเนิด
ของกีฬาซึ่งมีการเล่นในสมัยกลาง
ในการเล่นฮาร์ปาสตัม ขนาดของสนามจะเล็กกว่าสนามกีฬาซูเลอ แต่จุดประสงค์ของกีฬาทั้งสอง
คือ การนำลูกบอล ไปยังแดนของตน
แต่เนื่องจากมีเสียงอึกทึกโครมครามจากการวิ่งแย่งลูกบอล
ซึ่งอาจจะทำให้เกิดอุบัติเหตุได้มากมาย อันเป็นข้อห้ามของพระเจ้า จึงมีพระบรมราชโองการในนาม
ของพระเจ้าแผ่นดินห้ามเล่นกีฬาดังกล่าวในเมือง
ผู้ฝ่าฝืนมีโทษถึงจำคุก นอกจากนี้ยังมีข้อห้าม
ซึ่งออกในวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ.1892 ขอให้เล่นยิงธนูในวันฉลองต่าง ๆ แทนการเล่นเกมฟุตบอล
ในโอกาสต่อมากีฬาฟุตบอลได้จัดให้มีการแข่งขันกันอีกครั้ง ซึ่งเป็นการเผชิญหน้ากันระหว่างทีมต่างๆ
ที่อยู่ห่างกันประมาณ 3-4 ไมล์ ( 5-6.5 กิโลเมตร- )
ในปี พ.ศ. 2344 กีฬาชนิดนี้ได้ขัดเกลาให้ดีขึ้น มีการกำหนดจำนวนผู้เล่นให้เท่ากันในแต่ละข้าง
ขนาดของสนามอยู่ในระหว่าง 80 - 100 หลา (73-91 เมตร) และมีประตูทั้งสองข้างที่ริมสุดของสนาม
ซึ่งทำด้วยไม้ 2 อัน
ห่างกัน 2-3 ฟุต
ในปี พ.ศ. 2366 ได้จัดให้มีการเล่นฟุตบอลในรูปแบบของการเล่นใน ปัจจุบัน William Alice
คือผู้เริ่มวางกฎบังคับต่างๆ สำหรับกีฬาฟุตบอลและรักบี้ ในปี พ.ศ. 2393 ได้มีการออกระเบียบ
และกฎของการเล่นไปสู่ ดินแดนต่างๆ ให้ปฏิบัติตาม
โดยจำกัดจำนวนผู้เล่นให้มีข้างละ 15-20 คน
ในปี พ.ศ. 2413 มีการกำหนดผู้เล่นให้เหลือข้างละ 11 คน โดยมีผู้เล่นกองหน้า 9 คน และผู้เล่น
รักษาประตู 2 คน
โดยผู้รักษาประตูใช้เท้าเล่นเหมือน 9 คนแรกจนกระทั่งให้เหลือผู้รักษาประตู 1 คน
แต่อนุญาตให้ใช้มือจับลูกบอลได้ในปี พ.ศ. 2423
ในปี พ.ศ. 2400 สโมสรฟุตบอลได้ก่อตั้งเป็นครั้งแรกที่เมืองเซนพัสด์ประเทศอังกฤษ
และต่อมาในวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2406 สโมสรฟุตบอล 11 แห่งได้มารวมกันที่กรุงลอนดอน
เพื่อก่อตั้งสมาคมฟุตบอลขึ้น
ซึ่งถือเป็นรากฐานในการกำเนิดสมาคมแห่งชาติ จนถึง 140 สมาคม และทำให้ผู้เล่นฟุตบอลต้องเล่นตามกฎและกติกาของสมาคมฟุตบอล จนเวลาผ่านไปจากคำว่า
Association ก็ย่อเป็น Assoc และกลายเป็น Soccer ขึ้นในที่สุด
ซึ่งนิยมเรียกกันในประเทศอังกฤษ
แต่ชาวอเมริกันเรียกว่า Football หมายถึง American football
ภายนอกเกาะอังกฤษ พวกกะลาสีเรือ ทหาร พ่อค้า วิศวกร หรือแม้แต่นักบวชได้นำกีฬาชนิดนี้
ไปเผยแพร่ ประเทศเดนมาร์กเป็นประเทศที่ 2 ในยุโรป
ในอเมริกาใต้ สโมสรแรกได้ถูกตั้งขึ้นในประเทศอาร์เจนตินา เมื่อพี่น้องชาวอังกฤษ 2 คน ได้ลงข้อความโฆษณาในหนังสือพิมพ์ของเมืองบูเอโนสไอเรส (Buenos Aires) เพื่อ หาผู้อาสาสมัคร
ในปี พ.ศ. 2427 กีฬาฟุตบอลก็กลายมาเป็นวิชาหนึ่งในโรงเรียนของเมืองบูเอโนสไอเรส

การแข่งขันระดับชาติครั้งแรกในทวีปอเมริกาใต้ คือ
การแข่งขันระหว่างอาร์เจนตินากับอุรุกวัย
ในปี พ.ศ.2448 แต่อเมริกาเหนือเริ่มแข่งขันเมื่อปี พ.ศ. 2435
ในอิตาลี ฮาร์ปาสตัมเป็นต้นกำเนิดจิโอโค เดล คาลซิโอ ผู้เล่นกีฬาจะเป็นผู้นำทางสังคม
หรือแม้แต่ผู้นำชั้นสูงของศาสนา
เช่นสันตปาปา เกลาเมนต์ที่ 7 ลีออนที่ 10 และเออร์เบนที่ 7
เป็นถึงแชมเปี้ยนในกีฬาฟลอเรนไทน์ฟุตบอล
ต่อมาชาวโรมันได้ดัดแปลงเกมการเล่นฮาร์ปาสตัมเสียใหม่
โดยกำหนดให้ใช้เท้าแตะลูกบอลเท่านั้น ส่วนมือให้ใช้เฉพาะการทุ่มลูกบอล ซึ่งนักรบชาวโรมัน นิยมเล่นกันมาก
กีฬาฮาร์ปาสตัมซึ่งมีต้นกำเนิดจากสมัยโรมันได้ถูกแปลงมาเป็นกีฬาซูลอหรือซูเลอ
กีฬาชนิดนี้เหมือนกับฮาร์ปาสตัม คือ นำลูกบอลกลับไปยังแดนของตน แต่สนามมีขนาดกว้างกว่ามาก
การเล่นซูเลอมักจะมีขึ้นในบ่ายวันอาทิตย์หลังการสวดมนต์เย็น จะมีการแข่งขันสำคัญในช่วงเวลาดีคาร์นิวาล กีฬาชนิดนี้เป็นที่นิยมมากในเขตปริตานีและมอร์ลังดี กีฬานี้ได้ถูกเผยแพร่ไปยังอังกฤษโดยผู้ติดตาม
ของวิลเลี่ยมผู้พิชิตภายหลัง
การรบที่เฮสติ้ง (Hasting)
เมื่อ 900 ปีกว่ามาแล้ว ประเทศอังกฤษได้ตกอยู่ในความปกครองของพวกเคนส์ เชื้อสายโรมัน
ซึ่งยกกองทัพมาตีหมู่เกาะอังกฤษตอนใต้ และได้ปกครองเรื่อยมาจนถึงปี พ.ศ. 1589 อังกฤษเริ่มเข้มแข็งขึ้น และสามารถขับไล่พวกเคนส์ออกจากประเทศได้ หลังจากนั้น 2-3 ปี อังกฤษจึงเริ่มปรับปรุงประเทศเป็นการใหญ่
มีการขุดอุโมงค์ตามพื้นที่หลายแห่ง
ซึ่งในการขุดอุโมงค์คนงานคนหนึ่งได้ขุดไปพบกะโหลกศีรษะใน
บริเวณที่เคยเป็นสนามรบ
และเป็นที่ฝังศพของพวกเคนส์มาก่อนทุกคนในที่นั้นแน่ใจว่าเป็นกะโหลกศีรษะ
ของพวกเคนส์
อารมณ์แค้นจึงเกิดขึ้นทันทีเมื่อต่างคนต่างคิดถึงเหตุการณ์ที่ถูกพวกเคนส์กดขี่ทารุณจิตใจ
คนอังกฤษในสมัยนั้นด้วยเหตุผลนี้
คนงานคนหนึ่งจึงเตะกะโหลกศีรษะนั้นทันที ส่วนคนอื่นๆ ที่อยู่ในบริเวณนั้นก็พากันหยุดงานชั่วคราว แล้วหันมาเตะกะโหลกศีรษะเป็นการใหญ่ เพื่อระบายอารมณ์แค้นที่เก็บไว้อย่างสนุกสนาน ผลที่สุดเมื่อพวกนี้หากะโหลกศีรษะเตะกันไม่ได้ก็เอาถุงลมของวัวมาทำเป็นลูกกลมขึ้นเตะแทนกะโหลกศีรษะ
ปรากฏว่าเป็นที่รื่นเริงสนุกสนามกันมาก
ต่อมาชาวโรมันได้นำเกมนี้ไปเล่นในอังกฤษ จากนั้นชาวอังกฤษก็ได้ปรับปรุงวิธีการเล่น
เทคนิคการเล่น
ตลอดจนกติกาให้เหมือนในสมัยปัจจุบัน คือเกมฟุตบอลที่ใช้เท้าเล่น
แต่ในระยะแรกของการเล่นฟุตบอลจะเล่นกันเป็นกลุ่มๆ เฉพาะพวกคนธรรมดาเท่านั้น

ไม่มีการจำกัดจำนวนผู้เล่น ประตูจะห่างกันเป็นไมล์ และใช้เวลาในการเล่นหลายชั่วโมง

จะเป็นการเล่นระหว่างทหารใหม่ที่ถูกเกณฑ์ นักบวช คนที่แต่งงานแล้ว คนโสด และพวกพ่อค้า
เกมชนิดได้กลายเป็นสิ่งฉลองในงานพิธีต่างๆ เช่น ในวันโชรพ ทิวส์เดย์ (Shrove Tuesday)
จะมีฟุตบอลนัดสำคัญให้คนได้ชม
เกมในสมัยนั้นจะเล่นกันอย่างรุนแรงและมีการบาดเจ็บกันมาก
ในวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 1857 พระเจ้าเอ๊ดเวิร์ดที่ 2 ได้ทรงออกพระราชกฤษฎีกา
เนื่องจากมีเสียงอึกทึกครึกโครมจาการวิ่งแย่งลูกบอล ซึ่งอาจจะทำให้เกิดอุบัติเหตุมากมาย
อันเป็นข้อห้ามของพระเจ้า
โดยห้ามเล่นกีฬาดังกล่าว ผู้ใดฝ่าฝืนมีโทษจำคุก
ฟุตบอลได้เริ่มแข่งขันภายใต้กฎของสมาคมแห่งชาติ เมื่อปี พ.ศ. 2412
ระหว่างทีมรัตเกอร์กับทีมบรินท์ตัน
จากนั้นกิจการฟุตบอลได้เจริญขึ้นช้าๆ
ในต่างจังหวัดจนกระทั่งสงครามโลกครั้งที่ 1 ได้มีการตั้ง
สมาคมฟุตบอลต่างจังหวัดขึ้นในปี พ.ศ. 2450 และมีการฝึกสอนในปี พ.ศ. 2484
ในทวีปเอเชีย อินเดียเป็นประเทศแรกที่เริ่มเล่นฟุตบอล ศาสตราจารย์จากวิทยาลัยกัลกัตตา
เป็นผู้นำสำเนากฎหมายการเล่นมาเผยแพร่ในปี พ.ศ. 2426 และในปี พ.ศ. 2435
ได้มีการแข่งขันชิงถ้วยรางวัลเป็นครั้งแรกในทวีปซึ่งยังไม่มีชื่อเสียงในด้านการเล่นฟุตบอล

กีฬาชนิดนี้ก็ได้เริ่มมีการเล่นมาก่อนร่วมร้อยปีแล้ว เช่น สมาคมฟุตบอลแห่งนิวเซาท์เวลส์
ได้ถูกตั้งขึ้นในออสเตรเลีย ปี พ.ศ. 2425 และสมาคมฟุตบอลของนิวซีแลนด์ได้ถูกตั้งขึ้นหลังจากนั้น 9 ปี
ในแอฟริกา สมาคมระดับชาติแห่งแรกได้ถูกตั้งขึ้นในประเทศแอฟริกาใต้
แต่อียิปต์เป็นประเทศแรกที่มีการแข่งขันระดับชาติในปี พ.ศ. 2467 คือ 3 ปี
หลังจากที่ได้ก่อตั้งสมาคมขึ้น
และอียิปต์สามารถเอาชนะฮังการีได้ 3-0 ในกีฬาโอลิมปิกที่ปารีส
การแข่งขันระดับชาติเป็นการแข่งขันระหว่างอังกฤษกับสกอตแลนด์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2415 และในปีแรกของศตวรรษที่ 20 โดยประเทศยุโรปอื่นๆ อย่างไรก็ตามในปี พ.ศ. 2447 กลุ่มประเทศต่างๆ ในแถบนี้ได้ประชุมกันที่ปารีสเพื่อตั้งสมาคมฟุตบอลนานาชาติขึ้น ในครั้งแรกก่อนการจัดตั้งสหพันธ์ 20 วัน สเปนและเดนมาร์กไม่เคยร่วมการแข่งขันระดับชาติมาก่อน และ 3 ประเทศใน 7 ประเทศ
ที่เข้าร่วมประชุมยังไม่มีสมาคมฟุตบอลในชาติของตน
แต่ฟีฟ่าก็แข็งแกร่งขึ้นเรื่อยมา
โดยมีสมาชิก 5 ชาติ ในปี พ.ศ. 2481 และ 73 ชาติ
ในปี พ.ศ. 2493 และในปัจจุบันมีสมาชิกถึง 146 ประเทศ
ที่มีส่วนร่วมในกิจกรรมของฟีฟ่า
ทำให้ฟีฟ่าเป็นองค์การกีฬาที่ใหญ่ที่สุดในโลก
สมาพันธ์ประจำทวีปของสมาคมฟุตบอลแห่งแรกที่ตั้งขึ้นคือ Conmebol ซึ่งเป็นสมาพันธ์ของอเมริกาใต้ สมาพันธ์นี้ได้ถูกจัดขึ้นเพื่อจัดตั้งเพื่อจัดการแข่งขันชิงชนะเลิศภายในทวีปอเมริกาใต้ ในปี พ.ศ. 2460
เกือบครึ่งศตวรรษ ต่อมาเมื่การแข่งขันภายในทวีปได้แพร่หลายมากขึ้น
จึงได้มีการจัดตั้งสมาพันธ์ในทวีปอื่นๆ ขึ้นอีกคือสหภาพสมาคมฟุตบอลยุโรป
ในปี พ.ศ. 2497 ซึ่งเป็นปีเดียวกับการจัดตั้งในทวีปเอเชีย และ 2 ปี
ก่อนการจัดตั้งสมาคมฟุตบอลยุโรป ในปี พ.ศ. 2497 ซึ่งเป็นปีเดียวกับการจัดตั้งสหพันธ์ฟุตบอลแห่งแอฟริกา (Concacaf)หรือสหพันธ์ฟุตบอลแห่งอเมริกากลาง อเมริกาเหนือ
และแคริบเบี้ยน
ได้ถูกจัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2504 และน้องใหม่ในวงการฟุตบอลโลกคือ สมาพันธ์ฟุตบอล
แห่งโอเชียนเนีย (Oceannir)

สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ
สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (Federation International Football Association FIFA)
ก่อตั้งขึ้นที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อ พ.ศ. 2447 โดยสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศฝรั่งเศส
และประเทศที่เข้าร่วมก่อตั้ง 7 ประเทศคือ
ฝรั่งเศส เบลเยียม เดนมาร์ก เนเธอร์แลนด์ สเปน สวีเดน
และสวิตเซอร์แลนด์
มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ เมืองซูริก ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
สมาพันธ์ฟุตบอลที่ได้รับการรับรองจากสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ
1. Africa (C.A.F.) เป็นเขตที่มีสมาชิกมากที่สุด ได้แก่ ประเทศแอลจีเรีย ตูนิเซีย แซร์ ไนจีเรีย และซูดาน เป็นต้น
2. America-North and Central Caribbean (Concacaf) ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา แคนาดา เม็กซิโก
คิวบา เอติ เอลซัลวาดอร์
กัวเตมาลา และฮอนดูรัส เป็นต้น
3. South America (Conmebol) ได้แก่ ประเทศเปรู บราซิล อุรุกวัย โบลิเวีย อาร์เจนตินา ชิลี เวเนซุเอลา
อีคิวเตอร์ และโคลัมเบีย
เป็นต้น
4. Asia (A.F.C.)เป็นเขตที่มีสมาชิกรองจากแอฟริกา ได้แก่ ประเทศไทย มาเลเซีย เกาหลี ญี่ปุ่น
ฮ่องกง เลบานอน อิสราเอล อิหร่าน จอร์แดน
และเนปาล เป็นต้น
5. Europe (U.E.F.A.) เป็นเขตที่มีการพัฒนามากที่สุด ได้แก่ ประเทศอังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน
ฮังการี
อิตาลี สกอตแลนด์ รัสเซีย สวีเดน สเปน และเนเธอร์แลนด์ เป็นต้น
6. Oceannir เป็นเขตที่มีสมาชิกน้อยที่สุดและเพิ่งจะได้รับการแบ่งแยก ได้แก่ ประเทศออสเตรเลีย
นิวซีแลนด์ ฟิจิ และปาปัวนิวกินี เป็นต้น ซึ่งประเทศต่างๆ ที่เป็นสมาชิกต้องเสียค่าบำรุงเป็นรายปี
ปีละ 300 ฟรังสวิสส์ หรือประมาณ 2,400 บาท

สหพันธ์ฟุตบอลแห่งเอเชีย

ในทวีปเอเชียมีการจัดตั้งสหพันธ์ฟุตบอลแห่งเอเอเชีย (A.F.C.) เพื่อดำเนินการด้านฟุตบอล ดังนี้
พ.ศ. 2495 มีการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่เฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์ โดยมีนักกีฬาและเจ้าหน้าที่
จากประเทศในเอเชียเข้ามาร่วมการแข่งขันด้วย
จึงได้ปรึกษาหารือกันในการจัดตั้งสหพันธ์ฟุตบอลเอเชียขึ้น
พ.ศ. 2497 มีการแข่งขันเอเชียนเกมส์ที่กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ ก็ได้เริ่มตั้งคณะกรรมการจากชาติต่างๆ
ที่เข้าร่วมเป็นสมาชิก 12 ประเทศ
พ.ศ. 2501 มีการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ที่ประเทศญี่ปุ่น ได้มีการประชุมเกี่ยวกับเรื่องนี้อีก และมีประเทศเข้าร่วม
เป็นสมาชิกรวมเป็น 35 ประเทศ
พ.ศ. 2509 ฟีฟ่าได้มองเห็นความสำคัญของ A.F.C. จึงได้กำหนดให้มีเลขานุการประจำในเอเชีย
โดยออกค่าใช้จ่ายให้ทั้งหมด
รวมทั้งเงินเดือน และคนแรกที่ได้รับตำแหน่งคือ Khow Eve Turk
พ.ศ. 2517 ในการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ที่เตหะราน ประเทศอิหร่านได้มีการประชุมประเทศสมาชิก A.F.C.
และที่ประชุมได้ลงมติขับไล่อิสราเอล ออกจากสมาชิก และให้จีนแดงเข้าเป็นสมาชิกแทน
ทั้งๆ
ที่จีนแดงไม่ได้เป็นสมาชิกของฟีฟ่า
นับว่าเป็นการสร้างเหตุการณ์ที่ประหลาดใจให้กับบุคคลทั่วไป
เป็นอย่างมากทั้งนี้เนื่องจากเหตุผลทางการเมือง
พ.ศ. 2519 มีการประชุมกันที่ประเทศมาเลเซีย ปรากฏว่าประเทศสมาชิกได้ลงมติให้ขับไล่
ประเทศไต้หวันออกจากสมาชิก
และให้รับจีนแดงเข้ามาเป็นสมาชิกแทน ทั้งๆ ที่ไต้หวัน
เป็นประเทศที่ร่วมกันก่อตั้งสหพันธ์ขึ้นมา
งานของสหพันธ์ฟุตบอลแห่งเอเชีย
1. ดำเนินการจัดการแข่งขันและควบคุม Asian Cup
2. ดำเนินการจัดการแข่งขันและควบคุม Asian Youth
3. ดำเนินการจัดการแข่งขันและควบคุมฟุตบอลโลกรอบคัดเลือก
4. ดำเนินการจัดการแข่งขันและควบคุม Pre-Olympic
5. ดำเนินการจัดการแข่งขันและควบคุม World Youth
6. ควบคุมการแข่งขัน Kings Cup, President Cup, Merdeka, Djakarta Cup
นอกจากนี้ยังได้รับความร่วมมือจากฟีฟ่าจัดส่งวิทยากรมาช่วยดำเนินการ

สรุปวิวัฒนาการของฟุตบอล
ก่อนคริสตกาล - อ้างถึงการเล่นเกมซึ่งเปรียบเสมือนต้นฉบับของกีฬาฟุตบอลที่เก่าแก่ที่
ได้มีการค้นพบจากการเขียนภาษาญี่ปุ่น-จีน
และในสมัยวรรณคดีของกรีกและโรมัน
ยุคกลาง - ประวัติบันทึกการเล่นในเกาะอังกฤษ อิตาลี และฝรั่งเศส
ปี พ.ศ. 1857 - พระเจ้าเอ๊ดเวิร์ดที่ 3 ทรงออกพระราชกฤษฎีกาห้ามเล่นฟุตบอล
เพราะจะรบกวนการยิงธนู
ปี พ.ศ. 2104 - Richardo Custor อาจารย์สอนหนังสือชาวอังกฤษกล่าวถึงการเล่นว่า
ควรกำหนดไว้ในบทเรียนของเยาวชน โดยได้รับอิทธิพลจาการเล่นกาลซิโอในเมืองฟลอเร้นท์
ปี พ.ศ. 2123 -Riovanni Party ได้จัดพิมพ์กติการการเล่นคาลซิโอ
ปี พ.ศ. 2223 -ฟุตบอลในประเทศอังกฤษได้รับพระบรมราชานุเคราะห์จากพระเจ้าชาร์ลที่ 2
ปี พ.ศ. 2391 -ได้มีการเขียนกฎข้อบังคับเคมบริดจ์ขึ้นเป็นครั้งแรก
ปี พ.ศ. 2406 -ได้มีการก่อตั้งสมาคมฟุตบอลขึ้น
ปี พ.ศ. 2426 -สมาคมฟุตบอลจักรภพ 4 แห่ง ยอมรับองค์กรควบคุม และจัดตั้งกรรมการระหว่างชาติ
ปี พ.ศ. 2429 -สมาคมฟุตบอลเริ่มทำการฝึกเจ้าหน้าที่ที่จัดการแข่งขัน
ปี พ.ศ. 2431 -เริ่มเปิดการแข่งขันฟุตบอลลีก โดยยินยอมให้มีนักฟุตบอลอาชีพ
และเพิ่มอำนาจการควบคุมให้ผู้ตัดสิน
ปี พ.ศ. 2432 -สมาคมฟุตบอลส่งทีมไปแข่งขันในต่างประเทศ เช่น เยอรมันไปเยือนอังกฤษ
ปี พ.ศ. 2447 - ก่อตั้งฟีฟ่า ซึ่งมีสำนักงานอยู่ที่กรุงปารีส เมื่อ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2447
โดยสมาคมแห่งชาติคือ ฝรั่งเศส เบลเยียม เดนมาร์ก สเปน สวีเดน
และสวิตเซอร์แลนด์
ปี พ.ศ. 2480 - 2481 -ข้อบังคับปัจจุบันเขียนขึ้นตามระบบใหม่ขององค์กรควบคุม
โดยใช้ข้อบังคับเก่ามาเป็นแนวทาง


ประวัติฟุตบอลในประเทศไทย


          กีฬาฟุตบอลในประเทศไทย ได้มีการเล่นตั้งแต่สมัย "พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว" รัชกาลที่ 5
แห่งกรุงรัตนโกสิทร์ เนื่องจากสมัยรัชกาลที่ 5 พระองค์ได้ส่งพระเจ้าลูกยาเธอ พระเจ้าหลานยาเธอ
และข้าราชบริพารไปศึกษาวิชาการด้านต่างๆ ที่ประเทศอังกฤษ และผู้ที่นำกีฬาฟุตบอลกลับมายังประเทศไทยเป็นคนแรกคือ
"เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา)" หรือ ที่ประชนชาวไทยมักเรียกชื่อสั้นๆว่า "ครูเทพ"

ซึ่งท่านได้แต่งเพลงกราวกีฬาที่พร้อมไปด้วยเรื่องน้ำใจนักกีฬาอย่างแท้จริง เชื่อกันว่าเพลงกราวกีฬาที่ครูเทพแต่งไว้นี้จะต้องเป็น
"เพลงอมตะ" และจะต้องคงอยู่คู่ฟ้าไทย

เมื่อปี พ.ศ. 2454-2458 ท่านได้ดำรงตำแหน่งเป็นเสนาบดีกระทรวงธรรมการครั้งแรก เมื่อท่านได้นำฟุตบอลเข้ามาเล่นในประเทศไทยได้มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ต่างๆมากมาย โดยหลายคนกล่าวว่า ฟุตบอลเป็นกีฬาที่ไม่เหมาะสมกับประเทศที่มีอากาศร้อน เหมาะสมกับประเทศที่มีอากาศหนาวมากกว่าและเป็นเกมที่ทำให้เกิดอันตรายต่อผู้เล่นและผู้ชมได้ง่าย ซึ่งข้อวิจารณ์ดังกล่าวถ้ามองอย่างผิวเผินอาจคล้อยตามได้ แต่ภายหลังข้อกล่าวหาดังกล่าวก็ได้ค่อยหมดไป จนกระทั่งกลายเป็น กีฬายอดนิยมที่สุดของประชาชนชาวไทยและชาวโลกทั่วทุกมุมโลก ซึ่งมีวิวัฒนาการดังกำลังอยู่ระหว่างปรับปรุงข้อมูลต่อไปนี้ พ.ศ. 2440 รัชกาลที่ 5 ได้เสด็จนิวัติพระนคร กีฬาฟุตบอลได้รับความสนใจมากขึ้นจากบรรดาข้าราชการ บรรดาครูอาจารย์ ตลอดจนชาวอังกฤษในประเทศไทยและผู้สนใจชาวไทยจำนวนมากขึ้นเป็นลำดับ กอร์ปกับครูเทพท่านได้เพียรพยายามปลูกฝังการเล่นฟุตบอลในโรงเรียนอย่างจริงจัง และแพร่หลายมากในโอกาสต่อมา พ.ศ. 2443 (รศ. 119) การแข่งขันฟุตบอลเป็นทางการครั้งแรกของไทยได้เกิดขึ้น เมื่อวันเสาร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2443 (รศ. 119) ณ สนามหลวง ซึ่งเป็นสถานที่ออกกำลังกาย และประกอบงานพิธีต่างๆการแข่งขันฟุตบอลคู่ประวัติศาสตร์ของไทย ระหว่าง "ชุดบางกอก" กับ "ชุดกรมศึกษาธิการ" จากกระทรวงธรรมการหรือเรียกชื่อการแข่งขันครั้งนี้ว่า "การแข่งขันฟุตบอลตามข้อบังคับของแอสโซซิเอชั่น" เพราะสมัยก่อนเรียกว่า "แอสโซซิเอชั่นฟุตบอล" (ASSOCIATIONS FOOTBALL) สมัยปัจจุบันอาจเรียกได้ว่า "การแข่งขันฟุตบอลของสมาคม" หรือ "ฟุตบอลสมาคม" ผลการแข่งขันฟุตบอลนัดพิเศษดังกล่าวปรากฏว่า "ชุดกรมศึกษาธิการ" เสมอกับ "ชุดบางกอก" 2-2 (ครึ่งแรก 1-0) ต่อมาครูเทพท่านได้วางแผนการจัดการแข่งขันฟุตบอลนักเรียนอย่างเป็นทางการพร้อมแปลกติกาฟุตบอล แบบสากลมาใช้ในการแข่งขันฟุตบอลนักเรียนครั้งนี้ด้วย พ.ศ. 2444 (รศ. 120) หนังสือวิทยาจารย์ เล่มที่ 1 ตอนที่ 7 เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2444 ได้ตีพิมพ์เผยแพร่เรื่องกติกาการแข่งขันฟุตบอลสากลและการแข่งขันอย่างเป็นแบบแผนสากล การแข่งขันฟุตบอลนักเรียนครั้งแรกของประเทศไทยได้เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2444 นี้ ผู้เข้าแข่งขันต้องเป็นนักเรียนชายอายุไม่เกิน 20 ปี ใช้วิธีจัดการแข่งขันแบบน็อกเอาต์ หรือแบบแพ้คัดออก (KNOCKOUT OR ELIMINATIONS) ภายใต้การดำเนินการจัดการ แข่งขันของ "กรมศึกษาธิการ" สำหรับทีมชนะเลิศติดต่อกัน 3 ปี จะได้รับโล่รางวัลเป็นกรรมสิทธิ์ พ.ศ. 2448 (รศ. 124) เดือนพฤศจิกายน สามัคยาจารย์ สมาคม ได้เกิดขึ้นครั้งแรกเป็น การแข่งขันฟุตบอลของบรรดาครูและสมาชิกครู โดยใช้ชื่อว่า "ฟุตบอลสามัคยาจารย์" พ.ศ. 2450-2452 (รศ. 126-128) ผู้ตัดสินฟุตบอลชาวอังชื่อ "มร.อี.เอส.สมิธ" อดีตนักฟุตบอลอาชีพได้มาทำการตัดสินในประเทศไทย เป็นเวลา 2 ปี ทำให้คนไทย โดยเฉพาะครู-อาจารย์ และผู้สนใจได้เรียนรู้กติกาและสิ่งใหม่ๆเพิ่มขึ้นมาก พ.ศ. 2451 (รศ. 127) มีการจัดการแข่งขัน "เตะฟุตบอลไกล" ครั้งแรก พ.ศ. 2452 (รศ. 128) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้ทรงสวรรคต เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2452 นับเป็นการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ของผู้สนับสนุนฟุตบอลไทยในยุคนั้น ซึ่งต่อมาในปีนี้ กรมศึกษาธิการก็ได้ประกาศใช้วิธีการแข่งขัน "แบบพบกันหมด" (ROUND ROBIN) แทนวิธีจัดการแข่งขันแบบแพ้คัดออกสำหรับคะแนนที่ใช้นับเป็นแบบของแคนาดา (CANADIAN SYSTEM) คือ ชนะ 2 คะแนน เสมอ 1คะแนน แพ้ 0 คะแนน และยังคงใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน ต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 พระองค์ทรงมีความสนพระทัยกีฬาฟุตบอลเป็น อย่างยิ่งถึงกับทรงกีฬาฟุตบอลเอง และทรงตั้งทีมฟุตบอลส่วนพระองค์เองชื่อทีม "เสือป่า" และได้เสด็จพระราช ดำเนินประทับทอดพระเนตรการแข่งขันฟุตบอลเป็นพระราชกิจวัตรเสมอมา โดยเฉพาะมวยไทยพระองค์ทรงเคย ปลอมพระองค์เป็นสามัญชนขึ้นต่อยมวยไทยจนได้ฉายาว่า "พระเจ้าเสือป่า" พระองค์ท่านทรงพระปรีชาสามารถมาก จนเป็นที่ยกย่องของพสกนิกรทั่วไป จนตราบเท่าทุกวันนี้ จากพระราชกิจวัตรของพระองค์รัชกาลที่ 6 ทางด้านฟุตบอลนับได้ว่าเป็นยุคทองของไทยอย่างแท้จริง อีกทั้งยังมีการเผยแพร่ข่าวสาร หนังสือพิมพ์ และบทความต่างๆทางด้านฟุตบอลดังกำลังอยู่ระหว่างปรับปรุงข้อมูลต่อไปนี้ พ.ศ. 2457 (รศ. 133) พระยาโอวาทวรกิจ" (แหมผลพันชิน) หรือนามปากกา "ครูทอง" ได้เขียนบทความกีฬา "เรื่องจรรยาของผู้เล่นและผู้ดูฟุตบอล" และ "คุณพระวรเวทย์ พิสิฐ" (วรเวทย์ ศิวะศริยานนท์) ได้เขียน บทความกีฬา "เรื่องการเล่นฟุตบอล" และ "พระยาพาณิชศาสตร์วิธาน" (อู๋ พรรธนะแพทย์) ได้เขียนบทความกีฬาที่ประทับใจชาวไทยอย่างยิ่ง "เรื่องอย่าสำหรับนักเลงฟุตบอล" พ.ศ. 2458 (รศ. 134) ประชาชนชาวไทยสนใจกีฬาฟุตบอลอย่างกว้างขวาง เนื่องจาก กรมศึกษาธิการ ได้พัฒนาวิธีการเล่น วิธีจัดการแข่งขัน การตัดสิน กติกาฟุตบอลที่สากลยอมรับ ตลอดจนระเบียบการแข่งขันที่รัดกุมยิ่งขึ้น และผู้ใหญ่ในวงการให้ความสนใจอย่างแท้จริงนับตั้งแต่ พระองค์รัชกาลที่ 6 เองลงมาถึงพระบรมวงศานุวงศ์จนถึงสามัญชน และชาวต่างชาติ และในปี พ.ศ. 2458 จึงได้มีการแข่งขันฟุตบอลประเภทสโมสรครั้งแรกเป็นการชิงถ้วยพระราชทานและเรียกชื่อการแข่งขัน ฟุตบอลประเภทนี้ว่า "การแข่งขันฟุตบอลถ้วยทองของหลวง" การแข่งขันฟุตบอลสโมสรนี้เป็นการแข่งขันระหว่าง ทหาร-ตำรวจ-เสือป่า ซึ่งผู้เล่นจะต้องมีอายุเกินกว่าระดับทีมนักเรียน นับว่าเป็นการเพิ่มประเภทการแข่งขันฟุตบอล ราชกรีฑาสโมสร หรือสปอร์ตคลับ นับได้ว่าเป็นสโมสรแรกของไทยและเป็นศูนย์รวมของชาวต่างประเทศ ในกรุงเทพฯ ซึ่งยังอยู่ในปัจจุบัน และสโมสรสปอร์ตคลับเป็นศูนย์กลางของกีฬาหลายประเภท โดยเฉพาะกีฬาฟุตบอลได้มีผู้เล่นระดับชาติจากประเทศอังกฤษมาเข้าร่วมทีมอยู่หลายคน เช่น มร.เอ.พี.โคลปี. อาจารย์โรงเรียนราชวิทยาลัย นับได้ว่าเป็นทีมฟุตบอลที่ดี มีความพร้อมมากทั้งทางด้านผู้เล่น งบประมาณและสนามแข่งขันมาตรฐาน จึงต้องเป็นเจ้าภาพให้ทีมต่างๆของไทยเรามาเยือนอยู่เสมอ ทำให้วงการฟุตบอลไทยในยุคนั้นได้พัฒนายิ่งขึ้น และรัชกาลที่ 6 ทรงสนพระทัย โดยเสด็จมาเป็นองค์ประธานพระราชทานรางวัลเป็นพระราชกิจวัตร ทำให้ประชาชนเรียกการแข่งขันสมัยนั้นว่า "ฟุตบอลหน้าพระที่นั่ง" และระหว่างพักครึ่งเวลามีการแสดง "พวกฟุตบอลตลกหลวง" นับเป็นพิธีชื่นชอบของปวงชนชาวไทยสมัยนั้นเป็นอย่างยิ่ง และการแข่งขันฟุตบอลสโมสรครั้งแรกนี้ มีทีมสมัครเข้าร่วมแข่งขันจำนวน 12 ทีม ใช้เวลาในการแข่งขัน 46 วัน (11 ก.ย.-27 ต.ค. 2458) จำนวน 29 แมตช์ ณ สนามเสือป่า ถนนหน้าพระลาน สวนดุสิต กรุงเทพมหานคร หรือสนามหน้ากองอำนวนการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติปัจจุบันพระองค์รัชกาลที่ 6 ได้ทรงโปรดเกล้าแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการแข่งขันนับว่าฟุตบอลไทยมีระบบ ในการบริหารมานานนับถึง 72 ปีแล้ว ความเจริญก้าวหน้าของฟุตบอลภายในประเทศได้แผ่ขยายกว้างขวางทั่วประเทศไปสู่สโมสรกีฬา-ต่าง จังหวัดหรือชนบทอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นที่นิยมกันทั่วไปภายใต้การสนับสนุนของรัชกาลที่ 6 และพระองค์ท่านทรงเล็งเห็นกาลไกลว่าควรที่ตะตั้งศูนย์กลางหรือสมาคมอย่างมีระบบแบบแผนที่ดี โดยมีคณะกรรมการบริหารสมาคมและทรงมีพระบรมราชโองการก่อตั้ง "สโมสรคณะฟุตบอลสยาม" ขึ้นมาโดยพระองค์และพระบรมวงศานุวงศ์ทรงเล่นฟุตบอลเอง รัชกาลที่ 6 ได้ทรงมีวัตถุประสงค์ของการก่อตั้งสมาคมฟุตบอลแห่งสยามดังนี้คือ 1. เพื่อให้ผู้เล่นฟุตบอลมีพลานามัยที่สมบูรณ์ 2. เพื่อก่อให้เกิดความสามัคคี 3. เพื่อก่อให้เกิดไหวพริบ และเป็นกีฬาที่ประหยัดดี 4. เพื่อเป็นการศึกษากลยุทธ์ในการรุกและการรับเช่นเดียวกับกองทัพทหารหาญ จากวัตถุประสงค์ดังกล่าว นับเป็นสิ่งที่ผลักดันให้สมาคมฟุตบอลแห่งสยามดำเนินกิจการเจริญก้าวหน้ามา จนตราบถึงทุกวันนี้ ซึ่งมีกำลังอยู่ระหว่างปรับปรุงข้อมูลดังนี้ พ.ศ. 2458 (ร.ศ. 134) การแข่งขัน ระหว่างชาติครั้งแรกของประเทศไทย เมื่อวันอังคารที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2458 ณ สนามราชกรีฑาสโมสร (สนามม้าปทุมวันปัจจุบัน) ระหว่าง "ทีมชาติสยาม" กับ "ทีมราชกรีฑาสโมสร" ต่อหน้าพระที่นั่ง และมี "มร.ดักลาส โรเบิร์ตสัน" เป็นผู้ตัดสิน ซึ่งผลการแข่งขันปรากฏว่าทีมชาติสยามชนะ ทีมราชกรีฑาสโมสร 2-1 ประตู (ครึ่งแรก 0-0) และครั้งที่ 2 เมื่อวันเสาร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2458 เป็นการแข่งขันระหว่างชาตินัดที่ 2 แบบเหย้าเยือนต่า หน้าพระที่นั่ง ณ สนามเสือป่าสวนดุสิต และผลปรากฏว่า ทีมชาติสยามเสมอกับทีมราชกรีฑา สโมสร หรือทีมรวมต่างชาติ 1-1 ประตู (ครึ่งแรก 0-0) สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย(THE FOOTBALL ASSOCIATION OF THAILAND) มีวิวัฒนาการตามลำดับต่อไปนี้ พ.ศ. 2459 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งสมาคมฟุตบอลแห่งสยามขึ้นเมื่อวันที่ 25 เมษายน พุทธศักราช 2459และตราข้อบังคับขึ้นใช้ในสนามฟุตบอลแห่งสยามด้วยซึ่งมีชื่อย่อว่า ส.ฟ.ท. และเขียนเป็นภาษาอังกฤษว่า "THE FOOTBALL ASSOCIATION OF THAILAND UNDER THE PATRONAGE OF HIS MAJESTY THE KING" ใช้อักษรย่อว่า F.A.T. และสมาคมฯ จัดการแข่งขันถ้วยใหญ่และถ้วยน้อยเป็นครั้งแรกในปีนี้ด้วย พ.ศ. 2468 เป็นภาคีสมาชิกสมาพันธ์ฟุตบอลระหว่างชาติ เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พุทธศักราช 2468 ชุดฟุตบอลเสือป่าพรานหลวง ได้รับถ้วยของพระยาประสิทธิ์ศุภการ (เจ้าพระยารามราฆพ) ซึ่งเล่นกับชุดฟุตบอลกรมทหารรักษาวัง เมื่อ พ.ศ. 2459-2460 ได้รับไว้เป็นกรรมสิทธิ์ โดยชนะ 2 ปีติดต่อกัน รายนามผู้เล่น 1. ผัน ทัพภเวส 2. ครูเพิ่ม เมษประสาท (พระดรุณรักษา) 3. ครูเธียร วรธีระ (หลวงวิเศษธีระการ) 4. จรูญฯ (พระทิพย์จักษุศาสตร์) 5. ก้อนดิน ราหุลหัต (หลวงศิริธารา) 6. ครูสำลี จุโฬฑก (หลวงวิศาลธีระการ) 7. ครูหับ ปีตะนีละผลิน (หลวงประสิทธิ์นนทเวท) 8. ตุ๋ย ศิลปี (หลวงจิตร์เจนสาคร) 9. แฉล้ม กฤษณมระ (พระประสิทธิ์บรรณสาร) 10. จิ๋ว รามนัฎ (หลวงยงเยี่ยงครู) 11. ลิ้ม ทูตจิตร์ (พระวิสิษฐ์เภสัช) ชุดฟุตบอลสโมสรกรมหรสพ ได้รับพระราชทาน "ถ้วยใหญ่" ของสมาคมฟุตบอลแห่งสยาม ในพระบรม ราชูปถัมภ์ เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2459 รายนามผู้เล่น 1. ครูเพิ่ม เมษประสาท (พระดรุณรักษา) 2. ครูเธียร วรธีระ (หลวงวิเศษธีระการ) 3. เจ็ก สุนทรกนิษฐ์ 4. บุญ บูรณรัฎ 5. ใหญ่ มิลินทวณิช (หลวงมิลินทวณิช) 6. ครูหับ ปีตะนีละผลิน (หลวงประสิทธิ์นนทเวท) 7. ผัน ทัพภเวส 8. ถม โพธิเวช 9. แฉล้ม พฤษณมระ (พระประสิทธิ์บรรณสาร) 10. หลวงเยี่ยงครู (ถือถ้วยใหญ่) 11. เกิด วัชรเสรี (ขุนบริบาลนาฎศาลา) พ.ศ. 2499 การแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับ ครั้งที่ 3 และเรียกว่าข้อบังคับ ลักษณะปกครอง           พ.ศ. 2499 สมาคมฟุตบอลฯ ได้สิทธิ์ส่งทีมฟุตบอลชาติไทยเข้าร่วมการแข่งขัน "กีฬาโอลิมปิก" ครั้งที่ 16 นับเป็นครั้งแรกที่ประเทศไทยมีสิทธิ์เข้าร่วมการแข่งขัน เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2499 ณ นครเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย          พ.ศ. 2500 เป็นภาคีสมาชิกสมาพันธ์ฟุตบอลแห่งเอเชีย ซึ่งมีชื่อย่อว่า เอเอฟซี และเขียนเป็นภาษาอังกฤษว่า "ASIAN FOOTBALL CONFEDERATION" ใช้อักษรย่อว่า A.F.C. พ.ศ. 2501 การแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับลักษณะปกครอง ครั้งที่ 4 พ.ศ. 2503 การแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับลักษณะปกครอง ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2504-ปัจจุบัน สมาคมฟุตบอลฯได้จัดการแข่งขันฟุตบอลถ้วยน้อย และถ้วยใหญ่ ซึ่งภายหลังได้จัดการแข่งขันแบบเดียวกันของสมาคมฟุตบอล อังกฤษคือจัดเป็นประเภทถ้วยพระราชทาน ก, ข, ค, และ ง และยังจัดการแข่งขันประเภทอื่นๆ อีกเช่น ฟุตบอลนักเรียน ฟุตบอลเตรียมอุดม ฟุตบอลอาชีวะ ฟุตบอลเยาวชนและอนุชน ฟุตบอลอุดมศึกษา ฟุตบอลเอฟเอ คัพ ฟุตบอลควีส์ คัพ ฟุตบอลคิงส์คัพ เป็นต้น ฯลฯ นอกจากนี้ยังได้จัดการแข่งขันและส่งทีมเข้าร่วมกับทีมนานาชาติมากมายจนถึงปัจจุบัน พ.ศ. 2511 สมาคมฟุตบอลได้สิทธิ์ส่งทีมฟุตบอลชาติไทยเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเป็นครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พุทธศักราช 2511 ณ ประเทศเม็กซิโก พ.ศ. 2514 การแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับลักษณะปกครอง ครั้งที่ 6 ชุดฟุตบอลทีมชาติไทย ชุดแรกที่เดินทางไปแข่งขัน "กีฬาโอลิมปิก" ครั้งที่ 16 ณ นครเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2499 พ.ศ. 2531 สมาคมฟุตบอลฯ ได้มีโครงการจัดการแข่งขันฟุตบอลภายในประเทศ รวมทั้งเชิญทีมต่างประเทศเข้าร่วมแข่งขัน และส่งทีมเข้าร่วมการแข่งขันในต่างประเทศตลอดปี
 
จากสภาพการณ์ปัจจุบันสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศฯ ได้สร้างเกียรติยศชื่อเสียงเป็นที่ปรากฏ และประจักษ์แจ้งแก่มวลสมาชิกฟุตบอลนานาชาติ ตัวอย่างประเทศเกาหลีได้จัดฟุตบอลเพรสซิเด้นคัพปี 2530 นี้ได้เชิญทีมฟุตบอลชาติไทยเท่านั้นแสดงว่าแสดงว่าสมาคมฟุตบอลของไทยได้บริหารทีมฟุตบอลเป็นทีมที่มีมาตรฐาน สูงสุดจนเป็นที่ยอมรับของเอเชียในปัจจุบันและต่อจากนี้ไป ในปีพุทธศักราช 2530 นี้ สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ได้วางแผนพัฒนาทีมฟุตบอลชาติไทยให้ยิ่งใหญ่ยิ่งขึ้น โดยมีโครงการทีมฟุตบอลชาติไทยชุดถาวรของสมาคมฟุตบอลฯ เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ฟุตบอลชาติไทย ซึ่งนักฟุตบอลทุกคนของสมาคมฯจะได้รับเงินเดือนเดือน ละ 3,000 บาท ในช่วงปี 2530-2531 นอกจากนี้สมาคมฟุตบอลฯได้วางแผนพัฒนาเกี่ยวกับการฝึกซ้อมและแข่งขันฟุตบอล โดยนำเอาเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาช่วยในการฝึกด้วยตลอดจนหาช้างเผือกมาเสริมทีมชาติเพื่อเป็นตัวตายตัวแทนสืบไป ขอใหสโมสรสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านโปรดติดตามและเอาใจช่วยให้สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยจงเจริญรุ่งเรือง สืบไปชั่วนิจนิรันดร์